การประมวลข้อมูลและตั้งโจทย์นวัตกรรม

จากการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์ หรือมีการใช้แบบสอบถามควบคู่ไปด้วย ขั้นตอนต่อไปก็คือการประมวลข้อมูลซึ่งจะขอแนะนำ 2 เครื่องมือได้แก่ Empathy Map และ Persona  Empathy Map จากการสัมภาษณ์หรือสังเกต หลักๆ เราก็จะทราบสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายพูดและทำ เวลาสัมภาษณ์เราก็ควรที่จะถามไปถึงว่ากลุ่มเป้าหมายคิดหรือรู้สึกอย่างไรถึงพูดหรือทำเช่นนั้น แต่บางครั้งผู้สัมภาษณ์ก็อาจจะต้องประเมินและตีความเองจากการสัมภาษณ์และสังเกต  Says  กลุ่มเป้าหมายพูดอะไร พูดเรื่องอะไรบ้าง เล่าเรื่องอะไรให้ใครฟังว่าอย่างไรบ้าง Does  อะไรคือพฤติกรรมที่กลุ่มเป้าหมายแสดงออกมา Thinks กลุ่มเป้าหมายมีความคิดอย่างไร อะไรคือสิ่งที่เขาให้ความสำคัญ Feels กลุ่มเป้าหมายรู้สึกอย่างไร ความรู้สึก ความกลัว คุณค่าที่ให้ ความเชื่อหรือความต้องการลึก ๆ Persona Persona คือตัวแทนสมมติของกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการพัฒนานวัตกรรมให้ สร้างมาจากลักษณะร่วมของกลุ่มเป้าหมายที่เราไปสัมภาษณ์มา Persona ช่วยให้ทีมนวัตกรรมเห็นภาพของกลุ่มเป้าหมายตรงกัน สำหรับนวัตกรรมแต่ละชิ้นจะมีมากกว่า 1 Persona เป้าหมายก็ได้ แต่ไม่ควรมีมากเกินไปเพราะว่าการทำนวัตกรรมที่ต้องโจทย์กลุ่มเป้าหมายหลายๆ กลุ่มพร้อมกัน หรือตอบโจทย์ทุกคน จะกลายเป็นไม่ตอบโจทย์ใครเลย ข้อมูลที่ควรมีใน Persona ชื่อ รูป quote  ข้อมูล demographic ที่เกี่ยวข้อง เช่น […]

Nina Chaiyanon

November 26, 2020

การทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายด้วยแบบสอบถาม (Survey)

ข้อดีของการใช้แบบสอบถาม ใช้งบประมาณน้อย และสามารถเข้าถึงคนได้จำนวนมาก เป็นกลยุทธ์ที่ดีในการในการ recruit กลุ่มเป้าหมายเพื่อทำความใจด้วยวิธีที่ high-fidelity กว่าเช่นการสัมภาษณ์หรือการสังเกต สามารถใช้หลังการสัมภาษณ์หรือการสังเกตเพื่อ validate ว่า finding นั้น apply ใน broader population หรือไม่ เราใช้แบบสอบถามตอบไหนในการออกแบบนวัตกรรมได้บ้าง ก่อน redesign เพื่อถามถึงระดับความพึงพอใจต่อเวอร์ชั่นปัจจุบัน หลัง launch เพื่อประเมินว่าผลิตภัณฑ์ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายไหม Ongoing survey เพื่อรับคำแนะนำในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ เพื่อ quantify results from qualitative research เช่นการสัมภาษณ์  ส่วนประกอบของแบบสอบถาม เกริ่นนำ ถึงวัตถุประสงค์ของแบบสอบถาม และระยะเวลาที่คาดว่าจะใช้ในการตอบแบบสอบถาม ชุดคำถามคัดกรอง เพื่อส่งเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการทำการศึกษาไปทำแบบสอบต่อ ชุดคำถามหลัก ที่เราต้องการศึกษา  Demographic คำถามเพื่อใช้ในการแบ่งกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม ไม่ควรจะถามซ้ำกับคำถามส่วนคัดกรอง Final thoughts คำถามปลายเปิดแนวข้อเสนอแนะอื่นๆ และอย่าลืมขอบคุณผู้ตอบแบบสอบถาม เคล็ดลับในการออกแบบแบบสอบถาม ชัดเจนกับตัวเองว่าเราต้องการเรียนรู้อะไรจากแบบสอบถามนี้ จัดกลุ่มคำถามย่อยเข้าด้วยกันและจัดให้สอดคล้องตามลำดับความเข้าใจ ใช้ทั้งคำถามปลายเปิดและปลายปิดให้สมดุล ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย […]

Nina Chaiyanon

November 26, 2020

เทคนิคการสัมภาษณ์ เพื่อรู้จักตัวตนและเข้าใจปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย

การสัมภาษณ์เป็นเทคนิคพื้นฐานในการ empathize เพื่อทำความรู้จักและเข้าใจบริบทและปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย มีประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะเริ่มต้นของโครงการ ที่ต้องการกำหนดเป้าหมายและขอบเขตของโครงการ บนฐานของความเข้าใจคุณค่าและทัศนคติของกลุ่มเป้าหมาย โดยเราสามารถใช้เทคนิคการสัมภาษณ์ควบคู่กับการสังเกตเพื่อให้ได้ข้อมูลรอบด้าน จะเริ่มต้นสัมภาษณ์อย่างไร เปิด แนะนำตัว จุดประสงค์ของการสัมภาษณ์ ตอนนี้เป็นโอกาสที่จะตอบขอกังวลใจของผู้ให้สัมภาษณ์ก่อ คำถามอุ่นเครื่อง  เพื่อให้ทำความรู้จักผู้ให้สัมภาษณ์ดีขึ้น ควรเป็นคำถามกลางๆ ที่ตอบได้ง่าย เป็นคำถามที่ตอบได้ง่าย ประมาณ 2-3 ข้อ ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที  คำถามหลัก คำถามที่พบบ่อยคือควรลิสต์คำถามไว้แล้วถามตามนั้นให้หมดหรือเปล่า  ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้สัมภาษณ์  สำหรับมือใหม่การเตรียมคำถามไว้และถามตามนั้นอาจช่วยลดความกังวลและโอกาสที่จะเกิด dead air แต่อาจจะทำให้ไม่ได้สามารถ explore ประเด็นที่อาจจะไม่ได้คิดไว้ตอนเตรียมคำถาม หากพอมีประสบการณ์แล้ว เตรียมประเด็นที่ต้องการ cover และเตรียมคำถามเปิดประเด็น แล้วให้บทสนทนานำไปสู่ประเด็นที่น่าสนใจ จะทำให้ได้ข้อมูลที่ rich และมีประโยชน์อย่างมากเมื่อเริ่ม explore the area สรุปประเด็น สรุปประเด็นที่พูดคุยกันเพื่อตรวจสอบว่าเราเข้าใจประเด็นที่ผู้ให้สัมภาษณ์ต้องการจะสื่อสารถูกต้องหรือไม่ และควรจะจบด้วยความรู้สึกเชิงบวก ปิดการสัมภาษณ์และขอบคุณ กล่าวคำขอบคุณและเล่าให้ผู้ให้สัมภาษณ์ฟังว่าเราจะทำอะไรต่อไปในโครงการรวมถึงโอกาสที่จะทำงานร่วมกันในอนาคต จ่ายค่าตอบแทนผู้ให้สัมภาษณ์ (หากมีการตกลงกันว่าจะมีค่าตอบแทน)  การบันทึกการสัมภาษณ์ เราอาจจะไม่ได้สามารถบันทึกเสียงสัมภาษณ์ได้ทุกครั้ง และถึงทำได้ก็ต้องใช้เวลาจำนวนมากในการถอดเทป ถ้าเป็นไปได้ให้เพื่อนช่วยจดโน้ตให้เพื่อที่เราจะได้โฟกัสอย่างเต็มที่กับการสัมภาษณ์ หากต้องไปสัมภาษณ์คนเดียว […]

Nina Chaiyanon

November 26, 2020

ThaiHealth WATCH จับตาทิศทางสุขภาพคนไทย กับ สสส.

       ปัจจุบัน 2 ใน 3 ของ โรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นในประชากรไทย มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตและปัจจัยแวดล้อมทางสังคมที่ส่งผลต่อสุขภาพ ตัวบ่งชี้ถึงทิศทางสถานการณ์ทางสุขภาพ เพื่อคาดการณ์ล่วงหน้าจึงมาจากข้อมูลภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย รวมถึงร่องรอยทางดิจิตอล (Digital footprint) เพื่อเห็นแนวโน้มความสนใจของคนในสังคมและเจาะลึกทำความเข้าใจถึงพฤติกรรมทางสุขภาพในแต่ละประเด็น สสส. ได้จัดทำประเด็นสุขภาพที่น่าสนใจ โดยประมวลมาจากข้อมูลสถานการณ์และสถิติสุขภาพต่างๆ และ ใช้เครื่องมือ social listening เพื่อจับกระแสความสนใจในประเด็นสุขภาพที่มีการพูดถึงใน social media และข้อเสนอแนะในระดับนโยบายและระดับบุคคล  Thaihealth Watch จับตาสถานการณ์สุขภาพคนไทย ในปี 2563 จึงเกิดขึ้นจากการเชื่อมโยงองค์ความรู้ใน 3 ส่วน ประกอบด้วย 1.Situation สถานการณ์สุขภาพคนไทยจากรายงานภาระโรคจากปัจจัยเสี่ยงของประชากรไทย (Burden of Disease) โดยแผนงานการพัฒนาดัชนีภาระทางสุขภาพเพื่อการพัฒนานโยบาย สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ รายงานสุขภาพคนไทย โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และสถิติสุขภาพที่เกี่ยวข้องทำให้เห็นแนวโน้มโรคของคนไทยและสถิติภาระโรคที่เกี่ยวข้อง  2.Social Trend จับกระแสความสนใจในประเด็นสุขภาพที่มีการพูดถึงในสังคมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในรอบ 1 ปี เพื่อเจาะลึกถึงพฤติกรรมสุขภาพของคนไทยในแต่ละประเด็น  3.Solution ข้อแนะนำ ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อสังคม โดยมี 10 ประเด็นสุขภาพที่น่าจับตามองในปี 2563 ได้แก่ ดาวน์โหลดเอกสารและอ่านฉบับเต็มได้ที่นี่

Nina Chaiyanon

November 26, 2020

รายงานสุขภาพคนไทย – บันทึกเหตุการณ์ด้านสุขภาพและสังคม

รายงานสุขภาพคนไทย จัดทำโดยมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นประจำทุกปีมาตั้งแต่ ปี 2546  เป็นบันทึกเหตุการณ์สำคัญด้านสุขภาพและสังคม ประจำปีที่ชวนทุกคนมาวิเคราะห์และหาคำตอบให้กับสถานการณ์สุขภาพเพื่อสังคมที่ยั่งยืน สำหรับนวัตกรที่ต้องการ explore เลือกปัญหาที่น่าสนใจในการทำนวัตกรรม รายงานนี้เป็นเครื่องมือที่ช่วยคุณเริ่มต้นได้ ด้วยข้อมูลสถิติและบทวิเคราะห์ที่เข้มข้น pin point ระบุปัญหา  และมีสไตล์การเขียนที่เข้าใจง่าย ภาพประกอบที่สวยงาม  แต่ละปีจะมีธีมตัวชี้วัดประจำปี ซึ่งถ้าเราสนใจประเด็นไหนก็สามารถไปตามดูฉบับปีนั้นๆ ได้ สามารถอ่านรายสุขภาพคนไทยแบบออนไลน์ได้ที่  https://www.thaihealthreport.com/ 

Nina Chaiyanon

November 26, 2020

Burden of Diseases – BOD ดัชนีภาระโรค ตัวชี้วัดปัญหาสุขภาพคนไทย

ปัญหาสุขภาพใดเป็นปัญหาใหญ่ของคนไทย ที่ยังต้องการนวัตกรรมมาช่วยแก้ไข? Burden of Disease หรือ ข้อมูลดัชนีภาระโรคจะช่วยคุณจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและเลือกโจทย์ที่น่าสนใจและ impactful ระบบข้อมูลภาระโรค (https://www.hiso.or.th/bodproject/)่ มีระบบ Data Visualization ที่ช่วยจัดลำอันดับปัญหาสุขภาพที่สำคัญจำแนกตามช่วงวัย เพื่อที่เราจะได้เลือกโจทย์ในประเด็นที่สนใจในแต่ละกลุ่มเป้าหมายและกลุ่มอายุ ทำไมถึงไม่ใช้สาเหตุการเสียชีวิตและจำนวนผู้เสียชีวิตเป็นตัวชี้วัด ? ในอดีตที่ผู้คนเจ็บป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคระบาด การจัดอันดับความสำคัญของปัญหาสุขภาพด้วยตัวเลขจำนวนผู้เสียชีวิตเพียงอย่างเดียวอาจเพียงพอ แต่ปัจจุบันผู้คนเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังมากขึ้น เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต โรคมะเร็ง หรือแม้กระทั่งการเจ็บป่วยทางจิตใจเรื้อรัง เช่น โรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นการเจ็บป่วยที่กระทบต่อคุณภาพชีวิตที่เหลืออยู่ของคนเป็นระยะเวลานาน คนป่วยมากขึ้น แต่เสียชีวิตน้อยลง มีชีวิตอยู่กับการเจ็บป่วยนานขึ้น เราเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า การสูญเสียปีสุขภาวะ นั่นเป็นปัจจัยชี้วัดความสำคัญของปัญหาสุขภาพที่ครอบคลุมในภาวะการณ์ปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราเดูเฉพาะตัวเลขผู้เสียชีวิต โรคเหล่านี้จะไม่ได้อยู่ในอันดับความสำคัญ  เช่นในรูปที่ 1 โรคซึมเศร้า และการเสพติดเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์เป็นเป็นปัญหาสำคัญของกลุ่มอายุ 15-29 ปี ถ้าดูเฉพาะสาเหตุการตายก็จะไม่เห็นปัญหาใหญ่สองปัญหานี้ ดัชนีภาระโรคช่วยให้เห็นภาพรวมของปัญหาได้ชัดเจนขึ้น ดัชนีภาระโรคเป็นตัวชี้วัดที่พัฒนาโดยองค์การอนามัยโลกในปี 1996 โดยพิจารณาทั้งการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรและการเจ็บป่วยและพิการร่วมด้วย ระบบข้อมูลภาระโรค นอกจากจำนวนผู้เสียชีวิตจากสาเหตุต่าง ๆ จำแนกตามกลุ่มอายุ เราสามารถเลือกดูข้อมูลในมิติต่าง ๆ […]

Nina Chaiyanon

November 26, 2020

ผู้ชายไทยเสี่ยงมะเร็งจากการกินผักผลไม้ไม่เพียงพอ

มะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทยต่อเนื่องมาตลอดตั้งแต่ปี 2541 จนถึงปัจจุบัน และสถาบันมะเร็งกำลังจับตามอง มะเร็งลำไส้และทวารหนัก ซึ่งพบมาเป็นอันดับ 3 ในเพศชาย และ  อันดับ 5 ในเพศหญิง  จากข้อมูลของ Thaihealth Watch ร่วมกับสำนักงานระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ พบว่าคนไทยมีแนวโน้มเสียชีวิตด้วยมะเร็งลำไส้จากปี 2552 ถึง 2561 สูงขึ้น 2.4 เท่า จาก 2.8 คนต่อแสนประชากรในปี 2552 เป็น  6.7 คน ในปี 2561 โดยมีความชุกสูงในเขตกทม​. (15.1 คนต่อแสนประชากร) การรับประทานผักและผลไม้เป็นประจำ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ แต่คนไทยยังกินผักและผลไม้ไม่เพียงพอ ตามเกณฑ์ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ที่แนะนำให้กินผักและผลไม้ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผัก) ไม่น้อยกว่าวันละ 7 ส่วน จากการศึกษาพฤติกรรมการกินผักและผลไม้ของคนไทย โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ในเดือนพฤษภาคม 2562 ได้สำรวจประชากรจำนวน 7,957 คน พบว่าไม่มีกลุ่มใดที่กินผักเพียงพอ โดยกลุ่มที่กินผักและผลไม้น้อยที่สุดคือกลุ่มเด็ก […]

Nina Chaiyanon

November 26, 2020

ครอบครัว ปัจจัยสำคัญส่งผลต่อสุขภาพจิตวัยรุ่นไทย

จากการสำรวจสภาวะทางสังคม วัฒนธรรม และสุขภาพจิต (2561) โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า 3 ใน 4 ของวัยรุ่นและเยาวชนไทย อายุระหว่าง 15-24 ปี รู้สึกอบอุ่นและมีความสุขเมื่อได้ใช้เวลาร่วมกับครอบครัวเป็นประจำ แต่มีวัยรุ่นและเยาวชนเพียงประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้น ที่มีโอกาสได้ใช้เวลาทำกิจกรรมพร้อมหน้ากันในบ้านกับครอบครัวอย่างมีความสุขเป็นประจำ และยิ่งไปกว่านั้น วัยรุ่นและเยาวชนเพียงไม่ถึง 1 ใน 3 เท่านั้นที่มีโอกาสพูดคุย ปรึกษาหารือ ตัดสินใจร่วมกันด้วยเหตุผลกับคนในครอบครัวเป็นประจำ โดยประเด็นสำคัญที่วัยรุ่นและเยาวชนต้องการคำปรึกษาและการแนะแนวจากครอบครัวมากที่สุด 3 ประเด็น คือ 1. การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ และยาเสพติด 2. การมีแฟน และ 3. การมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งสอดคล้องกับความเข้าใจและความคาดหวังของครอบครัว โจทย์ชวนคิด คุณคิดว่าเพราะเหตุใด วัยรุ่นและผู้ปกครองจึงไม่ได้ใช้เวลาร่วมกันภายในครอบครัวมากพอ และเราจะออกแบบกิจกรรม การมีส่วนร่วมในครอบครัว เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพูดคุยประเด็นสำคัญต่าง ๆ อย่างเปิดใจได้อย่างไร

Nina Chaiyanon

November 26, 2020

การบูลลี่ในโรงเรียน

สถานการณ์การบูลลี่ กรมสุขภาพจิต ได้เปิดเผยข้อมูลเมื่อต้นปี 2561  ระบุว่านักเรียนไทยโดนบูลลี่ในโรงเรียนปีละประมาณ 6 แสนคน เป็นสัดส่วน 40% ซึ่งสูงเป็นอับดับสองของโลกรองจากญี่ปุ่น เมื่อต้นปี 2563 เครือข่ายนักกฎหมายเพื่อเด็กเยาวชน ได้เปิดเผยผลสำรวจในกลุ่มเด็กอายุ 10-15 ปีจาก 15 โรงเรียน  พบว่า 91.79% เคยถูกบูลลี่ และ 68.93% มองว่า การบูลลี่ ถือเป็นความรุนแรงอย่างหนึ่ง 3 อันดับแรกการบูลลี่ที่พบได้มากในกลุ่มเด็กอายุ 10-15 ปี ได้แก่ การตบหัว (62.07%) การล้อพ่อแม่ (43.57%) การพูดจาเหยียดหยาม (41.78%) ยังไม่รวมถึงการนินทา ด่าทอ ชกต่อย ล้อปมด้อย พูดให้ร้าน เสียดสี กลั่นแกล้งในสื่อออนไลน์ ที่มีให้เห็นกันทั่วไป การบูลลี่ส่งผลกระทบอย่างไรต่อผู้ถูกกระทำบ้าง ? 42.86% คิดตอบโต้เอาคืน 26.33% มีภาวะเครียด 18.2% ไม่มีสมาธิกับการเรียน 15.73% ไม่อยากไปโรงเรียน 15.6% […]

Nina Chaiyanon

November 26, 2020

การสวมหมวกกันน็อคในกลุ่มเด็กและวัยรุ่นที่ขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์

Global Report on Road Safety 2018 โดยองค์การอนามัยโลก เผยว่าประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงเป็นอันดับ 9 ของโลก โดยมีผู้เสียชีวิตวันละ 60 คน (หรือเฉลี่ยปีละ 22,461 คน หรือ 32.7 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน)สัดส่วนผู้เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย เป็นผู้เสียชีวิตจากจักรยานยนต์สูงที่สุด เป็นจำนวน 74.4% ประเทศไทยมียอดผู้เสียชีวิตจากการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์สูงที่สุดในโลก โดยผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยรุ่น (15-19 ปี) และวัยทำงานตอนต้น (20-24 ปี)  สำหรับภาพรวมการใช้ถนน ผู้ใช้มอเตอร์ไซค์มีถึง 70%  เนื่องจากในหลายพื้นที่ไม่มีบริการขนส่งสาธารณะ จึงมีความจำเป็นต้องใช้รถส่วนตัว และรถจักรยานยนต์ก็เป็นพาหนะที่ราคาเข้าถึงได้ง่าย ข้อมูลจากมูลนิธิเมาไม่ขับเผยว่า กว่า 80% ของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เสียชีวิตเพราะไม่สวมหมวกกันน็อก ในปี 2561 มีผู้ได้ใบสั่งเกี่ยวกับการขับขี่ กว่า 5 ล้านครั้ง โดยสาเหตุอันดับ 1 คือขับขี่โดยไม่สวมหมวกกันน็อค เมื่อจำแนกตามกลุ่มอายุพบว่าเด็กเพียง 8% เท่านั้นที่สวมหมวกกันน็อก (พิจารณาเฉพาะผู้โดยสาร) และวัยรุ่นเพียง 22% สวมหมวกกันน็อก […]

Nina Chaiyanon

November 23, 2020
1 5 6 7 8