Nudge for Road Safety- สะกิดพฤติกรรมปลอดภัยบนท้องถนน
เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม และการออกแบบ เพื่อสะกิดพฤติกรรมข้ามถนนปลอดภัย
เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม และการออกแบบ เพื่อสะกิดพฤติกรรมข้ามถนนปลอดภัย
ข้าวกล่องสุขภาพ โภชนาการครบถ้วนจากวัตถุดิบท้องถิ่น จากอำเภอแม่ทา จังหวัดเชียงใหม่
เนยถั่วหิมพานต์ ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพจากวัตถุดิบท้องถิ่น พัฒนาจากความตั้งใจในการช่วยเหลือเกษตรกร จ.น่าน
เครือข่ายนวัตกรรุ่นใหม่ innowhale ร่วมกับ สสส. ขอเชิญชวนผู้ประกอบการ Startup และผู้ที่สนใจ ร่วมส่งข้อเสนอโครงการนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพใน 3 ประเด็น ได้แก่ นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านสุขภาพจิต (Mental health) นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ (Heathy eating) นวัตกรรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านกิจกรรมทางกาย (Physical activity) เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้มีสุขภาพที่ดีเพิ่มมากขึ้นโดยทีมที่ได้รับเลือกจากโครงการจะได้รับทุนสนับสนุนในการพัฒนานวัตกรรมทีมละ 300,000 บาท พร้อมที่ปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรมและการสร้างเสริมสุขภาพตลอดโครงการ แนวโน้มผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและจำนวนผู้ที่เสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและสุขภาพจิตที่เพิ่มขึ้นทุกปีเป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายในการใช้ชีวิตของคนไทยในเรื่องการเข้าถึงอาหารที่มีประโยชน์และปลอดภัย การกินอาการที่หวาน มัน เค็ม เกินปริมาณ ภาวะเนือยนิ่งระหว่างวัน รวมถึงการมีวิถีชีวิตและสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะทางจิตที่ดี ประเด็นปัญหาเหล่านี้สามารถทำงานในเชิงป้องกัน เสริมสร้างทักษะ และสร้างสภาพแวดล้อมควบคู่กับแนวทางแก้ไขได้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้ความสำคัญกับการป้องกัน เสริมสร้างทักษะและสร้างสภาพแวดล้อมที่สอดรับกับความท้าทายในการใช้ชีวิตของคนไทย จึงทำให้เกิดโครงการเฟ้นหานวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการที่กำลังขับเคลื่อนในประเด็นดังกล่าวได้รับทุนและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์ประชาชนในสังคมไทยได้จริง การสร้างเสริมสุขภาพ หมายถึง กระบวนการสร้างเสริม สนับสนุนด้านสุขภาพโดยให้บุคคลมีการปฏิบัติและการพัฒนาสุขภาพ ตลอดจนจัดการสิ่งแวดล้อมและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพเพื่อให้บรรลุการมีสุขภาพที่ดีทั้งทางด้านร่างกายจิตใจ สังคม และปัญญา สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ หมายถึง แนวคิด กระบวนการ หรือสิ่งประดิษฐ์ ที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานความคิดริเริ่มสร้างสรรค์บนฐานของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้เป็นผลงานที่นำไปสู่การแก้ปัญหา […]
กว่า 2 ใน 3 ของวัยรุ่นอายุระหว่า 15 – 25 ปี มีภาวะซึมเศร้า โดยเพศหญิงมีความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้ามากกว่าเพศชาย
อัตราการใช้ถุงยางอนามัยในวัยรุ่นสูงขึ้น แต่การใช้อย่างสม่ำเสมอยังคงต่ำ ส่งผลต่อการระบาดของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
มลพิษ 3 ประเภทที่ส่งผลต่อสุขภาพคนไทยอย่างรุนแรง ได้แก่ มลพิษทางอากาศ มลพิษจากขยะ และมลพิษจากอุตสาหกรรม
พฤติกรรมเนือยนิ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงหลักด้านสุขภาพที่นำไปสู่การเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
เทคโนโลยีและแอปพลิเคชันสั่งซื้ออาหารมีบทบาทต่อพฤติกรรมการบริโภคของวัยรุ่น เลือกซื้ออาหารโดยคำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการเป็นอันดับสุดท้าย
ในแต่ละปีมีเด็กและเยาวชนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนเฉลี่ย 2,510 ราย โดยกว่าร้อยละ 80 เกิดจากอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์