ผู้สูงวัยกินยา เรื่องธรรมดาที่ไม่ควรมองข้าม

เพราะความเสื่อมที่ประดังเข้ามา ทำให้เรื่องผู้สูงวัยกินยา จึงกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่ควรมองข้าม และต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ปัญหาการกินยาในผู้สูงวัยที่มักพบ คือ ลืมกินยา เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ของผู้สูงวัย โดยเฉพาะคนที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ต้องกินยาเป็นประจำ และมียาหลายชนิดที่ต้องกินในแต่ละมื้อ ขณะที่ความจำเริ่มลดลง พฤติกรรมลืมกินยาจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้บ่อย ซื้อยามากินเอง ผู้สูงอายุบางคนชอบซื้อยามากินเองตามคำแนะนำของคนใกล้ตัว หรือหมอตี๋ที่ร้านขายยา ทั้งยาชุดและยาสมุนไพรที่ไม่ได้รับรองมาตรฐาน ซึ่งส่วนใหญ่มีสารสเตียรอยด์ เมื่อกินไประยะแรกมักจะมีอาการดีขึ้น แต่กลับส่งผลร้ายในระยะยาว ทั้งกระดูกพรุน ความโลหิตสูง และเกิดผลเสียต่อไต กินยาของคนอื่น ด้วยความเอื้อเฟื้อของเพื่อนฝูง เพื่อนบ้าน หรือคนในบ้าน พอเล่าอาการเจ็บป่วยให้กันฟัง แล้วพบว่ามีอาการคล้ายกัน เกิดพฤติกรรมใจดีแบ่งยาให้ หรือขอยามาทดลองกิน ด้วยหวังว่าอาการป่วยไข้จะดีขึ้น โดยไม่รู้ว่าอาการที่เกิดขึ้น อาจเกิดจากโรคหรือสาเหตุต่างกัน หรืออาจเกิดจากโรคเดียวกันแต่ปริมาณยาที่เหมาะสมกับแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการแพ้ยา เกิดอาการข้างเคียง ใช้ยาเกินขนาด ไปจนถึงรักษาโรคไม่หาย หยุดยา หรือปรับขนาดยาเอง มีที่มาจากความเชื่อ 2 แบบ คือ แบบที่ 1 เชื่อว่ากินยามากไม่ดี เมื่ออาการดีขึ้นแล้วก็หยุดยาเอง แต่ยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ จะต้องกินให้หมดตามที่หมอสั่ง มิฉะนั้นแล้วอาจเกิดการดื้อยาได้ ความเชื่อแบบที่ 2 คือ กินยามากแล้วหายเร็ว จึงเพิ่มขนาดยาเอง […]

Nina Chaiyanon

November 8, 2019

เบาหวาน – รู้ก่อนเบาใจ ควบคุมได้เบาโรค

เบาหวาน คือ โรคที่เซลล์ร่างกายมีความผิดปกติในขบวนการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน เมื่อน้ำตาลไม่ได้ถูกใช้จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าระดับปกติ(ที่มา : สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย) เป็นโรคยอดฮิตที่พบได้ในผู้สูงวัย โดยเฉพาะคนที่มีอายุ 60–79 ปี ซึ่งมีความชุกในการเกิดโรคอยู่ที่ร้อยละ 19.2 (60–69 ปี) และ 18.8 (70–79 ปี) เบาหวาน เมื่อเป็นแล้ว ไม่สามารถรักษาให้ให้ขาดได้ แต่สามารถควบคุมได้ ซึ่งทำได้โดย ไปพบแพทย์เป็นประจำ เพื่อติดตามและเฝ้าระวังอาการ ดูแลและควบคุมอาการด้วยตนเอง ทั้งการกินอาหาร ออกกำลังกาย การกินยา รวมถึงการฉีดอินซูลิน(สำหรับผู้ป่วยบางราย) ขณะที่ผู้ป่วยเบาหวานใช้เวลาไปพบหมอเฉลี่ยประมาณปีละ 4 ครั้ง มีเวลาพบแพทย์และรับคำปรึกษาประมาณ 1 ชม./ครั้ง เท่ากับ 4 ชม./ปี นั่นเท่ากับว่า คนไข้ต้องใช้เวลาที่เหลือทั้งหมดเกือบตลอด 365 วัน ในการดูแลและควบคุมอาการของโรคเบาหวานด้วยตนเอง แต่จากข้อมูลของรายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนโดยการตรวจร่างกาย ปี 2557 พบว่า กลุ่มคนที่เป็นเบาหวานและสามารถควบคุมน้ำตาลได้ดีนั้น ยังมีไม่มาก ซึ่งจากรายงานฯ ดังกล่าว สามารถแบ่งกลุ่มผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ เป็นเบาหวาน(ตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือด […]

Nina Chaiyanon

November 3, 2019
1 6 7 8