โปรแกรมพัฒนาความเมตตากรุณาต่อตนเองรูปแบบออนไลน์ โดยเป็นการเรียนรู้ 14 วัน วันละ 10-25 นาที ที่จะช่วยให้วัยรุ่นได้รู้จักตัวเองมากขึ้น และสอนวิธีการเรียกความเมตตากรุณาต่อตนเองที่มักจะถูกหลงลืมไปให้กลับคืนมา
นวัตกร
ทีม Wallflower
ณัชชานิษฐ์ เงินวิวัฒน์กูล (ไอวี่)
ภรดร พิพัฒน์วณิชย์ (ลีออง)
อริสรา วรรณพันธุ์ (อริส)
กลุ่มเป้าหมาย
Emerging adults
วัยผู้ใหญ่แรกเริ่ม
(อายุ 18-24 ปี)
โปรแกรม
University Incubation Program
1 พฤศจิกายน 2563 -
30 มิถุนายน 2564
" ช่วงวัยที่กำลังเข้าสู่ชีวิตในการเป็นผู้ใหญ่ ทำให้หลายคนรู้สึกเคว้างคว้าง
หาตัวเองไม่เจอ บางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่ากำลังเผชิญกับอะไร "
เกี่ยวกับผลงาน
โครงการนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองภายใต้โครงงานทางจิตวิทยาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน โดยทีมนักศึกษาคณะจิตวิทยาและคณะออกแบบที่มีความสนใจประเด็นสุขภาพจิตในกลุ่มช่วงวัยมหาลัย เพราะเป็นช่วงวัยที่กำลังเข้าสู่ชีวิตในการเป็นผู้ใหญ่ จะต้องเจอหลายสิ่งที่ยากขึ้นไปอีก จึงทำให้กลุ่มวัยนี้หลายคนรู้สึกเคว้างคว้าง หาตัวเองไม่เจอ บางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่ากำลังเผชิญกับอะไรอยู่
ทีมจึงได้ออกแบบและพัฒนานวัตกรรม Self-compassion Journey เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายให้สามารถเรียนรู้เข้าใจตนเอง และจัดการความรู้สึกเหล่านี้ให้ดีขึ้น โดยเน้นไปที่การสร้างเสริมความเมตตากรุณาต่อตนเอง (Self compassion) เป็นเครื่องมือ self-help ที่สามารถใช้ดูแลรักษาจิตใจในระดับเบื้องต้น เสริมสร้างความรักต่อตนเองไปพร้อม ๆ กับการเดินทางภายใน เพื่อเข้าใจตัวตนและจิตใจของตนเองให้มากขึ้นใน 14 วัน
สิ่งที่ได้เรียนรู้จาก innowhale
1. ทักษะ Design Sprint ในการหา persona และ ploblem รวมถึงการสร้างชิ้นงานต้นแบบและนำไปทดสอบกับกลุ่มเป้าหมายก่อนลงมือทำจริงในระยะยาว
2. การย่อยข้อมูลจิตวิทยาที่มีความเป็นทางการให้ออกมาเข้าใจง่ายขึ้นและก็หนักแน่นพอที่จะสร้างผลลัพธ์ที่มีความเปลี่ยนแปลง
3. วิธีการเลือกเครื่องมือที่จะทำมาใช้ในการผลิต Self-help tool ที่ส่งผลต่อการทำงานและการเข้าถึงของกลุ่มเป้าหมาย

ผลลัพธ์และผลกระทบที่คาดหวัง
ผลการวิจัยสรุปจากการทดลองได้ว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาความเมตตากรุณาต่อตนเองรูปแบบเว็บไซต์ กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนความเมตตากรุณาต่อตนเองมากขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม และมีคะแนนความเมตตากรุณาต่อตนเองมากกว่ากลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งเป็นผลลัพธ์โดยตรงในระยะสั้น (ช่วงหลังการทดลอง) และระยะยาว (ช่วงติดตามผล)
ทีมนวัตกรคาดหวังว่าเครื่องมือนี้จะสามารถใช้เป็น self-help tool สำหรับกลุ่มผู้ใหญ่วัยแรกเริ่ม และกลุ่มผู้สนใจในวงกว้าง ผ่านการประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ทางช่องทาง Facebook และ Instagram ของโครงการ