สะกิดพฤติกรรมขับขี่ปลอดภัย บริเวณโรงเรียน

การออกแบบเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัย
โดยใช้หลักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม

นวัตกร

ทีม เตรียมพัฒน์

กฤษฎา ฉันทะโส
มยุรา  สีสาร
ชลธิชา  ผ่องจิต
เอกรัชต์  ภวนานันท์

 

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้ปกครอง วินมอเตอร์ไซค์
ผู้ขับขี่รถยนต์และรถจักรยานยนต์
และนักเรียนโรงเรียนเตรียมพัฒน์

โปรแกรม

Nudge Bootcamp 2022
Innowhale x Thailand Future Foundation
พฤษภาคม 2565 - ตุลาคม 2565

"เราจะออกแบบอย่างไร เพื่อส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัยของรถจักรยานยนต์ และรถยนต์ที่รับส่งเด็ก ๆ บริเวณหน้าโรงเรียน"

 

เกี่ยวกับผลงาน

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ (จำนวนนักเรียน 4000+ คน) ตั้งอยู่ในซอยพัฒนาการ 58 ซึ่งเป็นถนนที่มอบให้ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์  บริเวณดังกล่าวมีหมู่บ้านขนาดใหญ่ ร้านค้า และที่พักอาศัย ทำให้มีการจราจรหนาแน่นในทุกวัน โดยเฉพาะวันจันทร์-ศุกร์ที่มีการรับ-ส่งนักเรียนช่วงเช้าและเย็น การจัดการเส้นทางสัญจรบริเวณหน้าโรงเรียนทั้งขาเข้าและขาออกให้ไม่ติดขัด สะดวกสำหรับผู้ที่มาส่งและผู้ที่ใช้เส้นทางในการสัญจรเข้าออก
ในช่วงเวลาเร่งด่วนจึงต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนและเด็กนักเรียน

 จากผลการสำรวจพบว่านักเรียนที่เดินทางมาโรงเรียนด้วยรถจักรยานยนต์ มีผู้ปกครองมาส่งคิดเป็นสัดส่วนกว่า 60% และ โดยสารวินมอเตอร์ไซค์คิดเป็น 30% และจากการสังเกตพบว่าผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์จำนวนมากมีพฤติกรรมเสี่ยงในการขับขี่ที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ได้แก่ กลับรถกะทันหันและจอดรับ-ส่งในจุดเสี่ยงอันตราย และหลายครั้งก่อให้เกิดอุบัติเหตุ โครงการจึงต้องการนำองค์ความรู้และกระบวนการด้านพฤติกรรมศาสตร์มาช่วยออกแบบวิธีการ ‘สะกิด’พฤติกรรมเพื่อส่งเสริม การขับขี่ปลอดภัยในกลุ่มผู้ขับขี่จักรยานยนต์ (ผู้ปกครองและวินมอร์เตอร์ไซค์) โดยเน้นที่การลดพฤติกรรมการกลับรถกะทันหัน และการจอดรับส่งในจุดเสี่ยง

โดยออกแบบการสื่อสารเส้นทางการเดินรถที่ถูกต้อง ประชาสัมพันธ์ไปยังผู้ปกครองและเครือข่ายวินมอเตอร์ไซค์   รวมถึงออกแบบป้ายเตือนจุดอันตราย จุดเสี่ยง และป้ายนำสายตาให้ขับขี่ตามเส้นทางเพื่อกลับรถในจุดปลอดภัย  และได้เก็บข้อมูลเทียบกับ baseline พบว่าพฤติกรรมเสี่ยงในการขับขี่ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ  อย่างไรก็ตาม โครงการยังเก็บข้อมูลต่อเนื่องเพื่อสังเกตผลระยะยาว

 

>>> เรียนรู้เพิ่มเติม <<<

สิ่งที่ได้เรียนรู้จาก innowhale

1. กระบวนการออกแบบและพัฒนานวัตกรรม

2. การทำงานเป็นทีมและวิธีบริหารจัดการโครงการ

3. เปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้และทดลองลงมือทำ ได้ทำงานกับนวัตกรอาสา
ที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลาย

ผลลัพธ์และผลกระทบที่คาดหวัง

ทีมหวังว่าโครงการนี้จะสามารถใช้เป็นกรณีศึกษาในการนำหลักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมมาใช้ในการส่งเสริมพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัย ในบริบทโรงเรียนขนาดใหญ่ได้  อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการติดตามผลต่อเนื่องระยะยาว และปรับเพิ่มเติมเพื่อออกแบบการสะกิดพฤติกรรมอื่น ๆ เพื่อความปลอดภัยทางท้องถนนในบริเวณโรงเรียนต่อไป

เริ่มต้นสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ในประเด็นผลกระทบสูง
หรือร่วมพัฒนานวัตกรสังคมกับ innowhale