การสะกิดพฤติกรรม เพิ่มการบริโภคผักผลไม้ ลดอาหารเหลือทิ้งในกลุ่มผู้สูงวัยที่ทำอาหารเอง
นวัตกร
ทีม Plant D
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มผู้สูงวัยในเครือข่าย Plant:D
ที่ต้องการเพิ่มการบริโภคผัก และ
ลดอาหารเหลือทิ้ง
โปรแกรม
Nudge Bootcamp 2022
Innowhale x Thailand Future Foundation
พฤษภาคม 2565 - ตุลาคม 2565
"เราออกแบบเมนูผักของร้าน Ring the Bell ให้มีหลากหลาย แต่เมนูที่ขายดีส่วนใหญ่เป็นอาหารจานเดียวและขนมมากกว่า เข้าใจว่าคนทั่วไปคงไม่ได้อยากกินผักขนาดนั้นอยู่แล้ว แต่เราจะมีวิธีไหน สะกิดให้เค้าตัดสินใจเลือกกินเมนูที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้นไหมนะ "
เกี่ยวกับผลงาน
Plant:D เป็นธุรกิจเพื่อสังคมที่อยากใช้การปลูกผักอินทรีย์มาแก้ปัญหาผู้สูงอายุในชุมชนเมือง สำหรับกิจกรรม Nudge Bootcamp ทีม Plant D มีความตั้งใจอยาก ส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุผ่านการทำสวนผักชุมชน ย่านบางกอกน้อย จากการทำงานคลุกคลีในเครือข่ายมานาน พบกว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ทำอาหารทานเอง มีปัญหาว่าเมื่อซื้อผักสำหรับเตรียมทำอาหารแล้วเหลือทิ้ง ทำให้เกิด food waste ผักบางอย่างซื้อมานานแล้วไม่ถูกนำไปใช้เพราะลืม หรือ ไม่แน่ใจว่าต้องกินผักอะไรก่อนหลัง หลายคนซื้อผักทีละเยอะ ๆ โดยไม่ได้ประเมินก่อนว่าจะต้องใช้มากน้อยแค่ไหน ไม่รู้ว่ามีอะไรอยู่แล้วบ้าง จึงซื้อมาเกินความจำเป็น และบางทีไม่ได้เกิดการบริโภคและเหลือทิ้ง
Plant:D จึงต้องการกระตุ้นให้ผู้สูงอายุสามารถบันทึกและจำรายการผักในตู้เย็น ให้รู้ว่ามีผักอะไรอยู่แล้วบ้าง จะทำให้นำมาปรุงอาหาร และลดการเสีย เน่า ทิ้ง โดยได้นำกระบวนการออกแบบพฤติกรรมมาปรับใช้ในการออกแบบวิธีใช้ป้าย/สติกเกอร์ ผักผลไม้ ที่บอกวันที่ และชนิดของผัก พร้อมปฏิทินที่ติดไว้ประตูตู้เย็น เพื่อไว้บันทึกและวางแผนการซื้อและ จัดเวลาปรุงอาหารจานผัก และอาจมีสติกเกอร์เตือนใจกระตุ้นให้ไม่กินเหลือทิ้ง
โดยอาจเชื่อมกับความเชื่อหรือคุณค่า เช่น กินไม่เหลือทิ้ง ขอให้ถูกหวย ขอให้สุขภาพแข็งแรง เป็นต้น
>>> เรียนรู้เพิ่มเติม <<<
สิ่งที่ได้เรียนรู้จาก innowhale
1. องค์ความรู้และทักษะกระบวนการพัฒนานวัตกรรม การออกแบบโดยเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย
2. ได้นำความรู้ ศาสตร์การสะกิดพฤติกรรม (Nudge) มาทดลองลงมือทำจริง ในบริบทหน้างานจริง
ทำให้ได้ศึกษาและนำไปปรับใช้ในการทำงาน
3. ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากรและเครือข่ายนวัตกรผู้เข้าร่วมกิจกรรม

ผลลัพธ์และผลกระทบที่คาดหวัง
การคํานึงถึงความคิดและพฤติกรรมปกติของกลุ่มเป้าหมาย พบว่ากลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่มีการตระหนักถึงปัญหา ผักเหลือทิ้งน้อย ซื้อมาเก็บให้มีไว้ก่อน ดีกว่าจะกินแล้วไม่มีไม่ค่อยรู้สึกเสียดายผักเหลือทิ้ง อาจเป็นปัจจัยที่ทําให้ Intervention แบบกระตุ้น awareness ใช้ไม่ค่อยได้ผล ในขณะที่บ้านที่มีการทิ้งผักน้อย (ไม่เกิน 3 ครั้งใน 6 สัปดาห์) จะเป็น บ้านที่ทําสวนผักร่วมกับโครงการ PLANT:D ซึ่งพบว่าบ้านที่ปลูกผักจริงจัง จะเห็นคุณค่าเสียดายผักทั้งที่ปลูกได้หรือซื้อมา จึงเหลือลืมจนทิ้งน้อย ดังนั้นในประเด็น foodwaste ถ้าสามารถ engage กลุ่มเป้าหมายให้มีความสัมพันธ์หรือมีส่วนร่วมกับSupply Chain ก็น่าจะทําให้มองเห็น “คุณค่า” ของอาหารต่าง ๆที่จะบริโภค ซึ่งน่าจะส่งผลในการบริโภคอย่างมีจิตสํานึกมากขึ้น