สะกิดพฤติกรรม ลดดื่มน้ำหวาน ในออฟฟิศ B.Grimm

การสะกิดพฤติกรรม ลดกินเครื่องดื่มรสหวาน ให้เปลี่ยนมาทานน้ำเปล่าให้เพียงพอ

นวัตกร

ทีม B.Grimm

 

 

กลุ่มเป้าหมาย

พนักงานออฟฟิศ
B.Grimm แผนก HR
จำนวน 20+ คน

โปรแกรม

Nudge Bootcamp 2022
Innowhale x Thailand Future Foundation
พฤษภาคม 2565 - ตุลาคม 2565

"พนักงานส่วนใหญ่ดื่มน้ำไม่เพียงพอ และเสพติดการบริโภคเครื่องดื่มรสหวาน กว่าครึ่งหนึ่งของพนักงานมีภาวะน้ำหนักเกิน"

เกี่ยวกับผลงาน

B Grimm สมัครเข้าร่วม Nudge Bootcamp ด้วยความตั้งใจต้องการเรียนรู้กระบวนการเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม โดยนำโจทย์พฤติกรรมสุขภาพในที่ทำงานมาร่วมเป็นกรณีศึกษา ทีมสังเกตเห็นว่าพนักงานในสำนักงาน B Grimm ดื่มน้ำไม่เพียงพอในแต่ละวัน และมีพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มรสหวานปริมาณมาก อย่างน้อย 1-2 แก้วต่อวัน  กว่าครึ่งหนึ่งของพนักงานมีภาวะน้ำหนักเกิน ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่สามารถนำไปสู่การพัฒนาเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)

บริเวณภายในตึกสำนักงานมีร้านค้าขายเครื่องดื่มรสหวาน 2 ร้าน ในออฟฟิศมีตู้กดน้ำดื่มแต่พนักงานไม่ดื่มน้ำเปล่า  มีการจัดน้ำดื่มวางบริเวณรอบ ๆ สำนักงาน ในห้อง pantry และจัดวางตามโต๊ะประชุม แต่ไม่มีใครกิน เมื่อพยายามทำความเข้าใจเหตุผลกลุ่มเป้าหมาย พบว่า หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้พนักงานไม่ดื่มน้ำ คือ 1. น้ำดื่มบรรจุขวดมีขนาดใหญ่ น้ำหนักมากเกินไป ทำให้ยกดื่มไม่สะดวก   2. ตำแหน่งของตู้กดน้ำตั้งอยู่ไกลจากบริเวณโต๊ะนั่งทำงาน เข้าถึงยาก เลยไม่ได้นึกถึง   3. ไม่ชอบรสจืด ชอบน้ำหวาน เพราะให้พลังงานและสดชื่นมากกว่า

ทีมจึงตั้งโจทย์คำถามว่า เราจะกระตุ้นให้พนักงานดื่มน้ำเปล่ามากขึ้น โดยให้ความรู้เรื่องผลเสียและความเสื่ยงต่อสุขภาพของการกินหวาน และประโยชน์ของการดื่มน้ำเปล่า โดยมีแนวคิดว่าทำให้การดื่มน้ำเป็นเรื่องง่าย ใช้เหยือกน้ำพร้อมแก้ววางบนโต๊ะ พนักงาน โดยสื่อสารประโยชน์ของการดื่มน้ำเปล่าในการลดน้ำหนักและรักษาสุขภาพ  เพิ่มระบบการเผาผลาญ อาจส่งผลต่อ social norm สร้างกระแสการรักษาสุขภาพในกลุ่มพนักงาน 

 

>>> เรียนรู้เพิ่มเติม <<<

สิ่งที่ได้เรียนรู้จาก innowhale

1. กระบวนการออกแบบโดยมีพฤติกรรมเป็นศูนย์กลาง

2. ได้นำความรู้ ศาสตร์การสะกิดพฤติกรรม (Nudge) มาทดลองลงมือทำจริง

3. ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากรและเครือข่ายนวัตกรผู้เข้าร่วมกิจกรรม

ผลลัพธ์และผลกระทบที่คาดหวัง

ทีมหวังว่าโครงการนี้จะสามารถใช้เป็นกรณีศึกษาในการนำหลักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมมาใช้ในการส่งเสริมพฤติกรรมลดการเนือยนิ่ง และสนับสนุนให้เกิด Healthy Meeting ในบริบทสำนักงานได้  อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการติดตามผลต่อเนื่องระยะยาว เพื่อสรุปผลและประเมินความเป็นไปได้ในการออกแบบมาตรการที่ช่วยให้พนักงานเพิ่มชั่วโมง active ระหว่างทำงานที่จะส่งผลต่อการดูแลสุขภาพต่อไป

เริ่มต้นสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ในประเด็นผลกระทบสูง
หรือร่วมพัฒนานวัตกรสังคมกับ innowhale