ข้าวเมืองเหนือ – เมนูสลัดผักจากสมุนไพรท้องถิ่น

สลัดผักสมุนไพรท้องถิ่น เสริฟพร้อมข้าวพองออร์แกนิค และนำ้สลัดญี่ปุ่นนำ้ใส รสชาติที่คุ้นเคย จากวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรธรรมชาติดอกคำ

นวัตกร

ทีม ข้าวเมืองเหนือ

ณัฏฐณภัทร บุญสุข (ใบเฟิร์น)
ธนภัทร โอโน๊ะ (แม็ก)
ณรงค์ชัย ปาระโกน (พ่อหลวงชัย)
นฤมล อุปมา (จั่น)
ดาววิภา บรรณศาสตร์ (แม่ดาว)
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรธรรมชาติดอกคํา

 

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มผู้บริโภคอาหารสุขภาพ
กลุ่มผู้บริโภครักษ์สิ่งแวดล้อม

โปรแกรม

Design Thinking Bootcamp for Food Entrepreneurs
Innowhale x ข่วงเกษตรอินทรีย์ เชียงใหม่
กรกฏาคม - ธันวาคม 2565

" พวกเราเป็นรุ่นที่ 3 ของชุมชนที่เข้ามาช่วยดูแลกิจกรรมของกลุ่มเกษตรธรรมชาติดอกคำ เราอยากพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้จริง และเสริมสร้างศักยภาพของคนในชุมชนไปด้วยกัน"

เกี่ยวกับผลงาน

ในชุมชนของพวกเรามีผักพื้นบ้านที่เติบโตได้เองตามฤดูกาลมากมาย บางวันแม่ ๆ ก็เก็บผักที่โตขึ้นเองในไร่ให้มาทานคู่กับเมนูลาบคั่วของทางเหนือ ผักนั้นแปลกทั้งรสชาติ คือ เปรี้ยว ซ่า ขม เฟื่อน รวมถึงมีเนื้อสัมผัสที่แตกต่างจากผักทั่ว ๆ ไปที่เราได้รับประทานแต่ก็เข้ากับเมนูลาบได้ดี อีกทั้งแม่ ๆ ในชุมชนแต่ละคนก็ยังมีเมนูยำสูตรเด็ดที่แตกต่างกันและเปลี่ยนไปตามฤดูกาลตามวัตถุดิบที่หาได้จากในชุมชนอีกด้วย จากข้อมูลในการทำความเข้าใจจุดแข็งของชุมชนนี้ร่วมกับ insights สำคัญที่เราเจอจากการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายพบว่า คนเมืองเชียงใหม่ที่เริ่มสนใจสุขภาพจะเริ่มรับประทานเมนูสลัดเพิ่มขึ้นแทนเมนูจากข้าวหรือแป้ง โดยจะลดการรับประทานมื้อเย็น และรับประทานผักสดหรือผักสลัดกับเนื้อสัตว์แทน พวกเราจึงตั้งโจทย์ชาเล้นจ์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์คือ จะทําอย่างไรผู้ที่รักสุขภาพสามารถทานผักพื้นบ้านกับอาหารเมนูเนื้อสัตว์ได้อร่อย เอ็นจอยกับการทานแบบสมัยใหม่ และหาซื้อง่ายมากขึ้น?

ชุดสลัดผักพื้นบ้านของเรา ประกอบด้วยผักหลากหลายชนิดแต่ยังคงความคุ้นเคยเพื่อให้ง่ายกับการตัดสินใจซื้อและรับประทานได้เรื่อย ๆ อย่างเช่นในช่วงเดือนตุลาคมของปี สลัดผักพื้นบ้านจะประกอบด้วยผักเชียงดา ผักมันปลา ผักตูน มะเขือเทศเมือง สะเดาหอม โรยด้วยข้าวพองออร์แกนิคจากกลุ่มเกษตรธรรมชาติดอกคำ เสิร์ฟคู่กับน้ำสลัดซีอิ๊วญี่ปุ่นน้ำใสที่รับประทานง่าย รสชาติกลมกล่อม ชูรสชาติผักพื้นบ้านได้เป็นอย่างดี

 

>>> เรียนรู้เพิ่มเติม <<<

สิ่งที่ได้เรียนรู้จาก innowhale

1.  ฝึกการบริหารโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในเวลาและงบประมาณที่จำกัด และยังคงคุณภาพของผลลัพธ์ ด้วยการวางแผน การแบ่งหน้าที่ และการร่วมกันสรุปและตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน

2. ฝึกใช้กระบวนการ Design Thinking ด้วยความเข้าใจมากขึ้น

3. การเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้งมีผลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย

ผลลัพธ์และผลกระทบที่คาดหวัง

ผลลัพธ์ที่ทีมข้าวเมืองเหนือคาดหวังสำหรับกลุ่มเป้าหมาย คือทำให้ผู้รักสุขภาพหรือกลุ่มลูกค้าได้เข้าถึงเมนูผักและได้รับประทานผักมากขึ้น หากรับประทานผักเพิ่มขึ้นเป็นประจำจะส่งผลทำให้สุขภาพของกลุ่มเป้าหมายดีขึ้นได้ ในระยะยาวมีเป้าหมายให้ผลิตภัณฑ์สามารถจำหน่ายได้อย่างต่อเนื่องจะทำให้เกษตรในกลุ่มมีรายได้มากขึ้นและชาวบ้านในหมู่บ้านละแวกใกล้เคียงมีรายได้มากขึ้น

 

เริ่มต้นสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ในประเด็นผลกระทบสูง
หรือร่วมพัฒนานวัตกรสังคมกับ innowhale