Nanny’s Letter – ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ จากวัตถุดิบท้องถิ่น

เนยถั่วหิมพานต์ ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพจากวัตถุดิบท้องถิ่น

พัฒนาจากความตั้งใจในการช่วยเหลือเกษตรกร จ.น่าน

นวัตกร

ทีม Nanny's Letter

ชาลิสา ธรรมรงหวัง (แซน)
จินต์จุฑา พงศ์พันธุ์สถาพร (พลอย)

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มแม่และเด็ก และ
ผู้ที่สนใจอาหารสุขภาพ

 

โปรแกรม

Design Thinking Bootcamp for Food Entrepreneurs
Innowhale x Happy Grocers
1 เมษายน - 31 พฤษภาคม 2564

" เกษตรกรในอำเภอภูเพียง จังหวัดน่านยังประสบปัญหาผลผลิตราคาตกต่ำ และค่าขนส่งผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีราคาสูง "

เกี่ยวกับผลงาน

พื้นที่ตําบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ได้รับการสนับสนุนนวัตกรรมการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่สูง อาทิระบบบ่อพวงสันเขาและระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์จากทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อมุ่งแก้ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรน้ำจากข้อจำกัดด้านพื้นที่ลาดเชิงเขาที่ราบสูง อย่างไรก็ตามเกษตรกรในจังหวัดน่านยังประสบปัญหาผลผลิตราคาตกต่ำ และค่าขนส่งผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีราคาสูง เมื่อได้รับฟังและวิเคราะห์ปัญหาของเกษตรกร เพื่อต่อยอดการทำเกษตรอย่างยั่งยืน

ผู้พัฒนาจึงมองเห็นโอกาสของการแปรรูปสินค้าเกษตร พัฒนาสินค้าเพื่อลูกค้าเฉพาะกลุ่ม กำหนดเป้าหมายและทิศทางของแบรนด์ให้ชัดเจนตั้งแต่เริ่ม ผู้พัฒนาเข้าร่วมโครงการทำ Design Thinking เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับแม่และเด็ก ร่วมกับ Innowhale Incubation และ Happy Grocers จากการสัมภาษณ์กลุ่มลูกค้าพบว่า ลูกค้าต้องการอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูง มีประโยชน์ ปลอดถัยจากสารเคมี มีการปรุงน้อย และบริโภคสะดวกสบาย

ผู้พัฒนาจึงเลือกมะม่วงหิมพานต์ งาขี้ม้อน และน้ำผึ้ง ซึ่งเป็นวัตถุดิบในพื้นที่จังหวัดน่าน มาทำเนยถั่วเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ 3 รสชาติคือ Honey Cashew Nut Butter, Unsweetened Cashew Nut Butter, และ Crunchy Cashew Nut Butter และวางขายผ่านช่องทางออนไลน์เพื่อสนับสนุนเกษตรกรจังหวัดน่าน และเพิ่มทางเลือกในการบริโภคใหม่ให้กับกลุ่มลูกค้าแม่และเด็ก

>>> เรียนรู้เพิ่มเติม <<<

สิ่งที่ได้เรียนรู้จาก innowhale

1. เป็นโอกาสดีที่ได้พบปะ พูดคุย และสัมภาษณ์ความต้องการของลูกค้า เพื่อนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์

2. มีการวางแผนการทำงานและวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า

3. มีการอบรม Food Science และ Food Packaging เพื่อช่วยให้เรามีองค์ความรู้ด้านการรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์มากขึ้น

4. มีการอบรมให้เข้าใจพื้นฐานโภชนาการของแม่และเด็ก และพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัย ทำให้เข้าใจข้อกังวลและความต้องการของกลุ่มคุณแม่มากขึ้น

5. มีการอบรมการพัฒนาการเด็กด้วยการเล่น ทำให้ได้ไอเดียใหม่ ๆ ในการออกแบบ packaging และการนำเสนอผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่าง ๆ

6. มี Mentor ประจำกลุ่มที่ช่วยให้เราสามารถถอดบทเรียน และแนะนำให้เรามีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์มากขึ้น

7. มีการทดสอบผลิตภัณฑ์กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เพื่อรับ Feedback กลับมาพัฒนาผลิตภัณฑ์อีกครั้ง

ผลลัพธ์และผลกระทบที่คาดหวัง

จากการเก็บข้อมูลความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ประกอบกับโจทย์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบจังหวัดน่าน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ผู้พัฒนาสินค้าได้ทดสอบผลิตภัณฑ์ต้นแบบ Cashew Nut Butter กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงจนสามารถนำขายผลิตภัณฑ์ 3 รสชาติคือ Honey Cashew Nut Butter, Unsweetened Cashew Nut Butter, และ Crunchy Cashew Nut Butter

ผู้พัฒนาเลือกใช้กระปุกแก้วเป็นบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องการคัดแยกขยะให้ผู้บริโภค ผ่านโครงการ recycle ลดการผลิตขยะใช้แล้วทิ้ง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภครับรู้ถึงที่มาของวัตถุดิบ และตระหนักถึงความสำคัญของการสนับสนุนการทำเกษตร organic (Sustainable Consumption and Production)

เป้าหมายในระยะยาว ผู้พัฒนาเล็งเห็นโอกาสในการพัฒนาสินค้าอื่น ๆ ที่ใช้วัตถุดิบปลอดสารเคมีเพื่อเป็นอาหารปลอดภัยและมีคุณประโยชน์กับกลุ่มแม่และเด็ก สามารถชักชวนให้เกษตรกรมาปลูกพืชเศรษฐกิจเหล่านี้แบบปลอดสารเคมี เข้าร่วมกลุ่มการพัฒนาผลผลิต มีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการทรัพยากรในพื้นที่ และพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืน เพิ่มโอกาสในการจ้างงานในพื้นที่จังหวัดน่าน หากสามารถขยายกำลังการผลิตได้ต่อไปในอนาคต

เริ่มต้นสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ในประเด็นผลกระทบสูง
หรือร่วมพัฒนานวัตกรสังคมกับ innowhale