น้ำผักผลไม้ปั่นจากท้องถิ่นแม่ทา โปรตีนสูง จากถั่วลิสงออร์แกนิค ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ 100% สำหรับดูแลสุขภาพตามรอบเดือน
นวัตกร
ทีม Lamoon
ยุทธศักดิ์ ยืนน้อย (เพิก)
ธนิกา ยืนน้อย (ฝน)
มัทนา อภัยมูล (ปุ้ย)
อดิศักดิ์ ต๊ะปวน (ปอง)
นิรุต แก้วน้อย (โหน่ง)
วิสาหกิจชุมชนแม่ทาออร์แกนิค
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มผู้หญิงที่ต้องการดูแลสุขภาพตามรอบเดือน
กลุ่มผู้บริโภคอาหารสุขภาพ
โปรแกรม
Design Thinking Bootcamp for Food Entrepreneurs
Innowhale x ข่วงเกษตรอินทรีย์ เชียงใหม่
กรกฏาคม - ธันวาคม 2565
" การเข้าร่วมโครงการทำให้เราเข้าใจความต้องการของผู้บริโภค ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ โดยต่อยอดคุณค่าของวัตถุดิบท้องถิ่นที่มี"
เกี่ยวกับผลงาน
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่ทาออร์แกนิค ตั้งอยู่ที่ต.แม่ทา อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ เป็นการรวมตัวของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่กลับมาพัฒนาบ้านเกิดตั้งแต่มี 2557 โดยมีเป้าหมายเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่พึ่งตนเองบนฐานเกษตรกรรมยั่งยืน ทํางานต่อยอดการทําเกษตรอินทรีย์ต่อจากกลุ่มคนรุ่นพ่อแม่ที่ทําเกษตรอินทรีย์เพื่อพัฒนาชุมชนมาอย่างยาวนานร่วม 30 กว่าปี จีงได้มีแนวคิดที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มาจากวัตถุดิบเกษตรอินทรีย์ที่มีความปลอดภัยต่อทุกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดทั้ง supply chain ภายใต้กระบวนการ Design Thinking หรือกระบวนการคิดเชิงออกแบบ ที่เน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นศูนย์กลาง
จากการทำความเข้าใจปัญหาสําคัญของกลุ่มผู้หญิงวัยทํางานต่อการบริโภคอาหาร คือ ชีวิตเร่งรีบ ไม่ค่อยมีเวลาทําอาหาร และขาดการเชื่อมโยงระหว่างวัตถุดิบปลอดภัยและประโยชน์ทางโภชนาการที่ตรงกับความต้องการของร่างกาย ทีมจึงให้ความสนใจผลิตภัณฑ์ที่พร้อมทาน (Ready to eat) มีโภชนาการตรงกับความต้องการที่ให้โปรตีน พลังงานไม่สูง มีใยอาหารทำจากผักใบเขียว รวมถึงมีความสะอาดและปลอดภัยจากสารเคมี โดยเฉพาะมื้อเย็นที่เน้นอาหารที่รับประทานได้ง่ายแต่อิ่มท้องเพื่อรักษารูปร่าง ทางทีมจึงได้แนวคิดในการพัฒนาน้ำผักผลไม้ปั่นพร้อมด้วยโปรตีนย่อยง่ายจากถั่วลิสง โดยใช้หลักการเลือกชนิดผักและผลไม้ตามฤดูกาลควบรวมกับศาสตร์แพทย์แผนไทยในการออกแบบสูตร จึงได้ผลิตภัณฑ์ออกมาเป็น 3 สูตร คือ สูตรปรับสมดุล(สีเขียว) สำหรับช่วงก่อนมีรอบเดือน สูตรกระตุ้นโลหิต(สีแดง) สำหรับช่วงมีรอบเดือน และสูตรพิชิตความเหนื่อยล้า(สีเหลือง) สำหรับช่วงหลังหมดรอบเดือน
สิ่งที่ได้เรียนรู้จาก innowhale
1. การใช้กระบวนการ Design Thinking เป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย
2. การแบ่งบทบาทการทำงานตามความถนัดของแต่ละส่วนกับแต่ละคนทำให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. ทำให้ทีมมองรอบด้านและเห็นโอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่มากขึ้นจากการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายและความสามารถของทีม
4. ได้นำกระบวนการ Design Thinking ไปต่อยอดในโครงการพัฒนาชุมชนอื่น ๆ

ผลลัพธ์และผลกระทบที่คาดหวัง
นอกจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์จนได้เครื่องดื่มที่ตอบโจทย์ปัญหาเรื่องการปรับสมดุลฮอร์โมนของผู้หญิงด้วยเครื่องดื่มน้ำผักผลไม้อินทรีย์ปั่นตามฤดูกาลพร้อมโปรตีนจากถั่วลิสงอินทรีย์แล้ว หากสามารถต่อยอดผลิตภัณฑ์และจำหน่ายได้อย่างต่อเนื่องก็จะเป็นการสนับสนุนและพัฒนากลุ่มเกษตรอินทรีย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและส่งผลดีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายด้วย นอกจากนี้ทีมก็หวังว่ากลุ่มเป้าหมายจะมีสุขภาพที่ดีขึ้นจากผลิตภัณฑ์ และตระหนักถีงการดูแลสุขภาพก่อนและหลังมีรอบเดือน ซึ่งรวมไปถึงเป็นการให้ความรู้เรื่องการกินอาหารให้เหมาะสมมากขึ้นก่อนและหลังมีรอบเดือนด้วย