กว่า 2 ใน 3 ของวัยรุ่นอายุระหว่า 15 - 25 ปี มีภาวะซึมเศร้า โดยเพศหญิงมีความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้ามากกว่าเพศชาย
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
การสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2561 พบว่ากลุ่มวัยรุ่น อายุระหว่าง 15-25 ปี มีคะแนนสุขภาพจิตต่ำที่สุด (31.22 คะแนน) เมื่อเทียบกับกลุ่มช่วงอายุอื่นสอดคล้องกับข้อมูลจากสายด่วนสุขภาพจิต 1323 รายงานว่าปัญหาที่วัยรุ่นขอคำปรึกษาเกือบครึ่งคือเรื่องความเครียดหรือวิตกกังวล
ศูนย์สุขภาวะทางจิต คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่าปัญหาที่ผู้รับบริการมักมาปรึกษาแบ่งเป็นประเด็นเกี่ยวกับ
-
- การตัดสินใจเกี่ยวกับเส้นทางอาชีพ/การเลือกเรียน เป้าหมายในชีวิต
- การจัดการความคาดหวังจากตนเองและคนอื่น
- ความมั่นใจและตระหนักในคุณค่าของตัวเอง
- การปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่
- ความสัมพันธ์ กับครอบครัว เพื่อน หรือคนรัก
Twitter เป็นช่องทางหลักที่วัยรุ่นจำนวนมากใช้ในการระบายความในใจ เนื่องจากสามารถแสดงความเห็นแบบนิรนามได้ จากการเก็บข้อมูลระหว่าง ก.ค. 62 - มิ.ย. 63 พบข้อความ “ระบายอารมณ์” บน Twitter เว็บไซต์พันทิปและเด็กดี รวมกันสูงถึง 117,180 ครั้ง โดย 44% เป็นการรักษา 19% สงสัยว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า 16% ต้องการกำลังใจ 10% อยากตาย 10% ปรึกษาปัญหา 1% การเยียวยาโดยศิลปิน
จากงานวิจัย “ความชุกของภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงฆ่าตัวตายในวัยรุ่นไทย: การสำรวจโรงเรียนใน 13 เขตสุขภาพ” พบว่าวัยรุ่นกว่า 2 ใน 3 มีภาวะซีมเศร้า แบ่งเป็นซึมเศร้าเล็กน้อย 49.8% ปานกลาง 13.2% มาก 3.2% รุนแรง 0.7% โดยเพศหญิงมีความเสื่ยงต่อภาวะซึมเศร้ามากกว่าเพศชาย
ปัญหาซึมเศร้าอาจะนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย วิธีการรับมือกับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าที่ดีที่สุดคือการรับฟังและชวนเขามารับการรักษา แต่ในปัจจุบันพ.ร.บ. สุขภาพจิตยังมีข้อจำกัดที่วัยรุ่นที่มาอายุ 18 ปี ที่จะเข้ารับการรักษาจะต้องพาผู้ปกครองมาด้วย
ผู้ปกครองพาเด็กและวัยรุ่นเข้ามารับคำปรึกษาส่วนใหญ่มีปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เช่น การใช้ยาเสพติด พฤติกรรมทางเพศ ปัญหาจากการใช้งานเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต เช่น การติดเกมและอินเทอร์เน็ต การถูกกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ การพนันออนไลน์ ฯลฯ และหลังโควิด-19 ระบาด พบปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น
อาการที่พบคือ ความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า สมาธิสั้น มีปัญหาการเรียน ปัจจัยที่มีส่วนทำให้การรักษาแย่ลงพบว่าครอบครัวเป็นสาเหตุร่วม เช่น การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม ตามใจเกินไป ไม่เคยขัดใจจนทำให้เด็กขาดการควบคุมตัวเอง ความสัมพันธ์ครอบครัวที่ไม่ดี การเลี้ยงดูที่ใช้ความรุนแรง ขาดความเอาใจใส่ มีปัญหาทะเลาะเบาะแว้ง
" พ.ร.บ. สุขภาพจิตยังมีข้อจำกัดที่วัยรุ่นที่มาอายุ 18 ปี ที่จะเข้ารับการรักษาจะต้องพาผู้ปกครองมาด้วย"
โจทย์สำคัญ
1. การดูแลจิตใจตัวเอง
2. การช่วยดูแลจิตใจผู้อื่น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพจิต

ข้อมูลอ้างอิง
- แผนหลัก สสส. (พ.ศ. 2565 - 2567)
- แผน สสส. ปี 2565
- ThaiHealth Watch 2021