Health Promotion Innovation Accelerator Program 2022

เครือข่ายนวัตกรรุ่นใหม่ innowhale ร่วมกับ สสส. ขอเชิญชวนผู้ประกอบการ Startup และผู้ที่สนใจ ร่วมส่งข้อเสนอโครงการนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพใน 3 ประเด็น ได้แก่ นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านสุขภาพจิต (Mental health) นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ (Heathy  eating) นวัตกรรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านกิจกรรมทางกาย (Physical activity) เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้มีสุขภาพที่ดีเพิ่มมากขึ้นโดยทีมที่ได้รับเลือกจากโครงการจะได้รับทุนสนับสนุนในการพัฒนานวัตกรรมทีมละ 300,000 บาท พร้อมที่ปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรมและการสร้างเสริมสุขภาพตลอดโครงการ

แนวโน้มผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและจำนวนผู้ที่เสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและสุขภาพจิตที่เพิ่มขึ้นทุกปีเป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายในการใช้ชีวิตของคนไทยในเรื่องการเข้าถึงอาหารที่มีประโยชน์และปลอดภัย การกินอาการที่หวาน มัน เค็ม เกินปริมาณ ภาวะเนือยนิ่งระหว่างวัน รวมถึงการมีวิถีชีวิตและสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะทางจิตที่ดี ประเด็นปัญหาเหล่านี้สามารถทำงานในเชิงป้องกัน เสริมสร้างทักษะ และสร้างสภาพแวดล้อมควบคู่กับแนวทางแก้ไขได้

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้ความสำคัญกับการป้องกัน เสริมสร้างทักษะและสร้างสภาพแวดล้อมที่สอดรับกับความท้าทายในการใช้ชีวิตของคนไทย จึงทำให้เกิดโครงการเฟ้นหานวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการที่กำลังขับเคลื่อนในประเด็นดังกล่าวได้รับทุนและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์ประชาชนในสังคมไทยได้จริง

การสร้างเสริมสุขภาพ  หมายถึง กระบวนการสร้างเสริม สนับสนุนด้านสุขภาพโดยให้บุคคลมีการปฏิบัติและการพัฒนาสุขภาพ ตลอดจนจัดการสิ่งแวดล้อมและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพเพื่อให้บรรลุการมีสุขภาพที่ดีทั้งทางด้านร่างกายจิตใจ สังคม และปัญญา สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ หมายถึง แนวคิด กระบวนการ หรือสิ่งประดิษฐ์ ที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานความคิดริเริ่มสร้างสรรค์บนฐานของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้เป็นผลงานที่นำไปสู่การแก้ปัญหา หรือพัฒนาสังคมสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะ ช่วยลดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ หรือส่งเสริมให้คนมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน


วัตถุประสงค์ของโครงการ

  • สนับสนุนผู้ประกอบการนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่ต่อยอดขยายผลในประชากรไทยได้
  • สร้างแรงขับเคลื่อนให้นวัตกรมีความสนใจในการผลิตนวัตกรรมสร้างเสริม เพิ่มมากขึ้น
  • ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพใหม่ๆ ที่ช่วยทำให้สุขภาพของคนไทยดีขึ้น

โจทย์นวัตกรรม

1. Healthy Eating – นวัตกรรม ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ช่วยเสริมสร้างพฤติกรรมการบริโภคอาหารสุขภาวะ เช่น ลดการบริโภคหวาน มัน เค็ม เพิ่มการบริโภคผักผลไม้ และเข้าถึงอาหารปลอดภัย

2. Physical Activity – นวัตกรรม ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ช่วยเสริมสร้างพฤติกรรมการออกกำลังกาย เพิ่มกิจกรรมทางกายให้เพียงพอ และลดภาวะเนือยนิ่งระหว่างวัน

3. Mental Health – นวัตกรรม ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาวะทางจิต ผ่านการเสริมสร้างพฤติกรรม วิถีชีวิต และสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย


คุณสมบัติผู้สมัคร

  • มีเป้าหมายในการพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์การสร้างเสริมสุขภาพ ใน 3 ประเด็นเป้าหมาย ได้แก่ Healthy Eating , Physical Activity, Mental Health
  • มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ดำเนินการ มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจน และมีลูกค้าแล้ว
  • ทีมมีความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญในการดำเนินโครงการ
  • สามารถจัดสรรเวลาในการเข้าร่วมโครงการได้ระหว่าง ม.ค. – พ.ค. 2566

ประโยชน์ที่ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับ

  • ทุนสนับสนุนในการพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมจำนวน 300,000 บาท/ทีม
  • ได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะในการพัฒนานวัตกรรมสังคม
  • การเข้าถึงที่ปรึกษาในการพัฒนานวัตกรรมและผู้เชี่ยวชาญเชิงประเด็น
  • ได้สร้างเครือข่ายนวัตกรสังคมกับผู้เข้าร่วมโครงการทีมอื่นๆ

เกณฑ์การคัดเลือกโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุน

  1. ทีมที่มีเป้าหมายในการพัฒนานวัตกรรมด้านสร้างเสริมสุขภาพ ที่มีแนวคิดสำคัญในเรื่อง Health Promotion and Health Prevention 3 หัวข้อหลัก ได้แก่

    นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านสุขภาพจิต (Mental health)
    นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ (Heathy  Eating)
    นวัตกรรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านกิจกรรมทางกาย (Physical activity)

โดยนวัตกรรมที่ส่งเข้าร่วมโครงการ ต้องตรงกับแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพ (Health Promotion) คือการมุ่งเน้น
การป้องกันการเกิดโรค ส่งเสริมสุขภาพให้ดีขึ้น ควรตอบโจทย์กลุ่มคนที่ยังไม่มีโรคประจำตัว ให้สามารถดูแลสุขภาพให้แข็งแรงได้ 

*** ไม่รวมโครงการที่เกี่ยวกับการรักษา การคัดกรอง การฟื้นฟูดูแลผู้ป่วย ธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหาร บริการ fitness ***

  1. ทีมที่มีผลิตภัณฑ์/บริการที่ได้ดำเนินการแล้ว และมีกลุ่มเป้าหมายใช้สินค้า/บริการแล้ว : Problem-solution Fit
  2. สามารถดำเนินการตามแผนที่วางไว้ได้จริง : Feasibility
  3. มีแผนการดำเนินงานและแผนธุรกิจที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนของนวัตกรรม : Scalability

หมายเหตุ :  ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นของเจ้าของนวัตกรรม สสส. และ innowhale ขอสิทธิ์ในการเผยแพร่ผลงาน


ระยะเวลาโครงการ

22 ต.ค. – 25 พ.ย. 2565เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ
ลิงก์ใบสมัคร bit.ly/health-promo-acc
5 พ.ย. 2565Open House ชี้แจงรายละเอียดและตอบคำถามเกี่ยวกับโครงการ (online)
6 ธ.ค. 2565ประกาศรายชื่อ 12 ทีม ที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมนำเสนอโครงการ
(คัดเลือกจากใบสมัคร) ทาง Facebook: innowhale และอีเมลผู้สมัคร

ผู้ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมนำเสนอโครงการ ต้องเตรียมสไลด์นำเสนอ
และส่งให้ทีมงานภายในวันที่ 15 ธ.ค. 2565 (รายละเอียดจะแจ้งในอีเมล)
20 ธ.ค. 2565Pitching นำเสนอโครงการต่อกรรมการ
ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
27 ธ.ค. 2565ประกาศรายชื่อ 3 ทีมที่ผ่านเข้าร่วมโครงการ Health Promotion Accelerator
และมีสิทธิได้รับทุนสนับสนุนทีมละ 300,000 บาท
ทาง Facebook: innowhale และอีเมลผู้สมัคร
ม.ค. 2566Orientation กิจกรรมปฐมนิเทศผู้รับทุน
ม.ค. – พ.ค. 2566ดำเนินโครงการพัฒนานวัตกรรมตามแผน

ข้อมูลติดต่อ

Facebook Page: innowhale
Email: innowhale@gmail.com
Mobile: 081-536-1562 (คุณธัญลักษณ์) 09.00 – 18.00 น.