Heal Me Project – นิยายแชทให้กำลังใจในวันเศร้า

นิยายแชทตอนสั้นใน Joylada เล่าเรื่องการระบายความทุกข์ใจ และข้อความให้กำลังใจ จากคนสำคัญที่เป็นที่พึ่งทางใจของวัยรุ่น

นวัตกร

ทีมแง่งแง่งแง่ง

สุธิตา จำนงค์
ณ รัก สายเชื้อ

กลุ่มเป้าหมาย

วัยรุ่นม.ต้น - ม.ปลาย
อายุ 13 - 18 ปี

 

โปรแกรม

Creative Content Creator Workshop
 28 - 29 พฤศจิกายน 2563

" ในวันที่โลกรอบ ๆ ตัวไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัย  ยังมีพื้นที่เล็ก ๆ ที่ดีต่อใจ เป็นสื่อกลางช่วยเสริมแรง  เรียกกำลังใจดี ๆ ให้กลับคืนมา "

เกี่ยวกับผลงาน

ทีม แง่งแง่งแง่งแง่งแง่ง สังเกตุว่าปัญหาด้านสุขภาพจิตของวัยรุ่นส่วนใหญ่มาจากปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัว ความรู้สึกไม่เป็นที่ยอมรับ และไม่มีใครเข้าใจ เพราะถูกตัดสินตลอดเวลา จึงเชื่อว่า 'ครอบครัวไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน' ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่เด็กวัยรุ่นเจออยู่ไม่น้อย ถึงขนาดมีแฮชแท็ก #ครอบครัวไม่ใช่เซฟโซน ในทวิตเตอร์ที่มีเด็กวัยรุ่นแวะเวียนเข้ามาทวีตระบายความรู้สึกที่มีต่อครอบครัวในทุกๆ วัน

ทีมจึงอยากช่วยแก้ไขปัญหานี้ด้วยการสื่อสารประเด็นความทุกข์ใจของวัยรุ่น ความต้องการการยอมรับและเข้าใจจากคนรอบข้าง โดยนำเสนอในรูปแบบนิยายแชท จอยลดา ซึ่งเป็นช่องทางสื่อหลักของวัยรุ่น และกลายมาเป็น #Healmeproject จอยลดา  การเล่าเรื่องผ่านบทสนทนาระหว่างตัวละครที่เป็นตัวแทนวัยรุ่น และบุคคลที่ช่ืนชอบเป็นสื่อกลางในการให้กำลังใจ เพื่อให้วัยรุ่นรับรู้และเข้าใจ รู้สึกว่าถึงจะเจอปัญหาอะไร คนคนนี้ก็ยังคงมอบกำลังใจให้เขาอยู่เสมอ ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ทีมเคยได้รับในเรื่องการได้นิยายที่มีไอดอลเป็นตัวละครในเนื้อเรื่องคอยปลอบประโลมจิตใจ และอยากนำแนวคิดนี้มาถ่ายทอดและส่งต่อผ่านผลงานชิ้นนี้

>>> เรียนรู้เพิ่มเติม <<<

สิ่งที่ได้เรียนรู้จาก innowhale

1.ได้ลองลงมือทำผลงานจริงๆ ในประเด็นที่อยากทำ

2. ได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการในการผลิตคอนเทนต์ที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย

3. ได้ลองฝึกการเรียบเรียงเนื้อหาเพื่อนำเสนอผลงานจนมีเทคนิคที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้

ผลลัพธ์และผลกระทบที่คาดหวัง

Heal Me Project ได้เผยแพร่ผ่านทาง Instragram ส่วนตัว ผู้ทดลองใช้เป็นกลุ่มวัยรุ่นในวัยมัธยม ได้ผลตอบรับที่น่าสนใจ โดยกลุ่มเป้าหมายบอกว่านิยายแชทของ Heal Me Project ทำให้รู้สึกเหมือนได้คุยและรับกำลังใจจากคนที่ชื่นชอบจริงๆ ซึ่งถ้าพัฒนาการเขียนให้ดีมากขึ้นก็จะยิ่งช่วยสร้างความรู้สึกที่ดีได้ ส่วนอีกกลุ่มคิดว่ายังไม่สมจริงพอที่จะช่วยทำให้หายจากความรู้สึกแย่ได้ ผลงานจึงยังเหมือนอยู่ตรงกลางระหว่างความจริงกับไม่จริง ซึ่งในอนาคตทีมคิดว่าอยากพัฒนาต่อในรูปแบบอื่นเพื่อเสริมให้มีเนื้อเรื่องชัดเจนมากขึ้น และสามารถเป็นช่องทางหนึ่งในการเสริมแรงใจให้วัยรุ่นในวันที่หมดกำลังใจได้

เริ่มต้นสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ในประเด็นผลกระทบสูง
หรือร่วมพัฒนานวัตกรสังคมกับ innowhale