เว็บแอพพลิเคชั่นที่ทำให้การดูแลสุขภาพจิตเป็นเรื่องง่าย
ผ่านการบันทึกอารมณ์ และสะสมกำลังใจ
นวัตกร
ทีม Chummy
ธนิน ธนิสรวัชรกุล
กฤตณัฐ รัตนเดชากุล
ตฤณรดา อชิรนนทกร
ศรุตา รัตนวาร
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มนักเรียน นักศึกษา
วัยเริ่มทำงาน 15 - 20 ปี
โปรแกรม
Digital Mental Health University Incubation Program 2022
Innowhale x คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มีนาคม 2565 - พฤษภาคม 2566
"พวกเขามี support system น้อย เมื่อมีปัญหาแล้วไม่สามารถพูดคุยปรึกษาใครได้ ไม่มีคนที่พร้อมรับฟังและเข้าใจ"
เกี่ยวกับผลงาน
Chummy เป็นการรวมตัวของนิสิตคณะจิตวิทยา จุฬา และเพื่อน ๆ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ด้วยความตั้งใจอยากออกแบบและพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยให้คนมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น การเข้าร่วมโครงการบ่มเพาะกับ innowhale และเรียนรู้กระบวนการออกแบบและพัฒนานวัตกรรม เปิดโอกาสให้ทีมได้สำรวจกลุ่มเป้าหมายและเข้าใจโจทย์ใหม่ ๆ จากการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายพบว่า พวกเขามี Support System น้อย เมื่อมีปัญหาแล้วไม่สามารถพูดคุยปรึกษากับใครได้ รู้สึกว่าคนฟังไม่เข้าใจตัวเอง โดยสิ่งที่พวกเขาต้องการคือคําแนะนําที่เข้าใจตัวเขาได้จริง ๆ นอกจากนี้ในบางครั้งกลุ่มเป้าหมายก็มีความกังวลว่าตนเองจะเป็นโรคซึมเศร้า และยังมีความต้องการสํารวจสุขภาพจิตของตนเอง รวมถึงอยากประเมินตัวเองได้ว่าเสี่ยงที่จะมีปัญหาสุขภาพจิตหรือเปล่า
เว็บแอปพลิเคชันที่พัฒนาโดยทีมนิสิตชั้นปีที่ 4 คณะจิตวิทยาและคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีจุดมุ่งหมายในการทำให้การดูแลสุขภาพจิตเป็นเรื่องง่าย สามารถทำได้ทุกวัน และไม่ต้องใช้เวลานาน เพื่อป้องกันและส่งเสริมสุขภาพจิตของคนไทยให้ดียิ่งขึ้นผ่านแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก โดยมี feature หลัก ได้แก่ การพัฒนาและต่อยอดฟีเจอร์บันทึกอารมณ์ (mood tracking) และ healing card ที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าใจอารมณ์ตนเองและได้รับข้อความเชิงบวกที่สอดคล้องกับอารมณ์ของผู้ใช้งาน สามารถเข้าถึงเครื่องมือได้ที่ Line OA: @chummy.care
>>> เรียนรู้เพิ่มเติม <<<
สิ่งที่ได้เรียนรู้จาก innowhale
1. ได้เรียนรู้กระบวนการออกแบบ Application, UX/UI, การสัมภาษณ์และทดสอบกับกลุ่มเป้าหมาย
2. ได้เรียนรู้เรื่องการการตลาด ได้วิเคราะห์นวัตกรรมของผู้อื่นที่ใกล้เคียงกับที่เราทำ

ผลลัพธ์และผลกระทบที่คาดหวัง
ชัมมี่ตั้งใจให้บุคคลทั่วไปผู้มีชีวิตที่เร่งรีบและไม่มีเวลาในการดูแลสุขภาพใจของตนเองสามารถหันมาให้ความสนใจได้ง่ายมากขึ้นในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชันที่สามารถเข้าถึงได้ทุกคน อีกทั้งยังมีความสนุกไปพร้อมกับการดูแลสุขภาพใจของตนเอง โดยเน้นไปที่การตระหนักรู้ในอารมณ์ ของผู้ใช้งานเป็นหลัก รวมถึงมีการมอบกำลังใจกลับไปให้ผู้ใช้งานในรูปแบบของการสุ่ม Healing card ด้วย โดยในเว็บแอปพลิเคชันชัมมี่มีผู้ใช้ฟีเจอร์บันทึกอารมณ์(Mood tracking) เป็นจำนวน 185 คน โดยมีผู้กลับมาใช้ซ้ำอย่างน้อยเดือนละครั้งจำนวน 14 คน และอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้งจำนวน 23 คน
จาก Feedback ของผู้ใช้งานจำนวน 26 คนพบว่า
- ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจในฟีเจอร์บันทึกอารมณ์ อยู่ที่ 4.2 คะแนนจาก 5 คะแนน
- รู้สึกมีสติมากขึ้นอยู่ที่ 3.8 คะแนนจาก 5 คะแนนหลังจากใช้งาน และ
- ผู้ใช้งานได้ให้คะแนนความสำคัญของฟีเจอร์นี้อยู่ที่ 3.7 คะแนนจาก 5 คะแนน
- ในส่วนของ Healing card พบว่าผู้ใช้งานมีความพึงพอใจอยู่ที่ 4.1 คะแนนจาก 5 คะแนน
- รู้สึกมีกำลังใจเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 4 คะแนนจาก 5 คะแนนหลังได้รับการ์ด
- ผู้ใช้งานได้ให้คะแนนความจำเป็นของการมีการ์ดอยู่ที่ 3.8 คะแนนจาก 5 คะแนน
- โดยผู้ใช้งานมีคะแนนการแนะนำต่อ (NPS score) อยู่ที่ 8 คะแนนจาก 10 คะแนน