บัดดี้ครอบครัว – กิจกรรมสร้างสรรค์ เชื่อมความสัมพันธ์ในครอบครัว

กิจกรรมเรียนรู้และพัฒนาสื่อสร้างสรรค์เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างเด็ก วัยรุ่น พ่อแม่ และผู้สูงวัยในครอบครัว

นวัตกร

ทีมหลวงทีมหลาย

สันติพงษ์ ศิลปสมบูรณ์
ณัฐวุฒิ วงศ์แก้ว
จารุวรรณ ไชยกันทะ
อัจรวิชญ์ บุญสูง
ภูติณัฏฐ์ สุปิน

กลุ่มเป้าหมาย

วัยรุ่น อายุ 13-24 ปี
และครอบครัว

 

โปรแกรม

Social Ideation Lab
 พฤษภาคม -
กรกฎาคม 2564

" จุดเริ่มต้นของปัญหาความสัมพันธ์ในหลายครอบครัว เกิดจากช่องว่างระหว่างวัย  การขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน เนื่องจากขาดการสื่อสารพูดคุยกันในครอบครัว  "

เกี่ยวกับผลงาน

ทีมหลวงทีมหลายเป็นทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบลลำปางหลวง จังหวัดลำปาง พบว่าในพื้นที่มีปัญหาสังคมด้านสุขภาพจิตที่เกี่ยวข้องกับวัยรุ่นจำนวนมาก  หนึ่งในนั้นคือปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัวที่เป็นรากฐานสำคัญของพัฒนาการด้านสุขภาพจิตในวัยรุ่น และเป็นสาเหตุที่นำไปสู่พฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพอื่น ๆ เช่น การเสพสารเสพติด   พ่อแม่ผู้ปกครองจำนวนมากออกไปทำงานต่างพื้นที่  วัยรุ่นและผู้ปกครองจึงไม่มีโอกาสได้ใช้เวลาครอบครัวร่วมกันมากนัก  การขาดการสื่อสารพูดคุยและเข้าใจส่งผลกระทับต่อความสัมพันธ์ และความสนิท ไว้เนื้อเชื่อใจในครอบครัว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตในวัยรุ่น

กิจกรรมที่ทีมหลวงทีมหลายพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาด้านการสื่อสารในและความสัมพันธ์ที่บิดเบี้ยวในครอบครัว มีชื่อว่า 'PHONE' มาจากคำว่า 'PHOtographer' และ 'NEtwork'  โดยเปิดรับสมัครครอบครัวในพื้นที่ตำบลลำปางหลวงจับคู่บัดดี้วัยรุ่นและวัยเก๋ามาร่วมเรียนรู้เครื่องมือและออกแบบคลิปวีดีโอเกี่ยวกับความสุขและความสัมพันธ์ในครอบครัว โดยจะมีการอบรมให้ความรู้ด้านจิตวิทยาครอบครัว เทคนิคการสื่อสาร  การถ่ายทำและตัดต่อวีดีโอโดยใช้สมาร์ทโฟน โดยให้บัดดี้ช่วยคิดช่วยทำ นอกจากจะได้ผลงานเป็นวีดีโอและความรู้ในการถ่ายทำแล้ว ยังได้วิธีการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวและชุมชนที่เข้มแข็ง

>>> เรียนรู้เพิ่มเติม <<<

สิ่งที่ได้เรียนรู้จาก innowhale

1. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในแต่ละคนใช้เวลาไม่เท่ากัน

2. การสร้างความมั่นใจ ยอมรับในตัวตน ต้องมีครอบครัวที่เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในบทบาทที่สำคัญในครอบครัว

3. ควรจัดกิจกรรมในรูปแบบเยาวชนกับครอบครัวในเรื่องการสื่อสาร และเยาวชนกับเยาวชนในรูปแบบการเสริมพลัง

ผลลัพธ์และผลกระทบที่คาดหวัง

กิจกรรม PHONE สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของครอบครัวต้นแบบ ส่งเสริมสุขภาพจิตให้เด็กวัยรุ่นโดยเพิ่มกิจกรรมและเวลาในครอบครัว ซึ่งเมื่อกิจกรรมส่งเสริมให้คนในครอบครัวเปิดโอกาสให้กับเด็กวัยรุ่น จึงสามารถสร้างความมั่นใจในการเป็นที่พึ่งและได้รับการยอมรับจากคนในครอบครัวได้ ทีมหลวงทีมหลายมุ่งหวังว่ากิจกรรม PHONE จะเป็นต้นแบบนวัตกรรมหนึ่งครอบครัวหนึ่งผลงาน (OFOP : One Family One Product) ที่สามารถนำไปขยายแนวคิด ทักษะ พฤติกรรม ก่อให้เกิดเป็นพลังของเยาวชนในการพัฒนาชุมชนต่อไปในอนาคตได้

เริ่มต้นสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ในประเด็นผลกระทบสูง
หรือร่วมพัฒนานวัตกรสังคมกับ innowhale