การบูลลี่ในโรงเรียน

สถานการณ์การบูลลี่

กรมสุขภาพจิต ได้เปิดเผยข้อมูลเมื่อต้นปี 2561  ระบุว่านักเรียนไทยโดนบูลลี่ในโรงเรียนปีละประมาณ 6 แสนคน เป็นสัดส่วน 40% ซึ่งสูงเป็นอับดับสองของโลกรองจากญี่ปุ่น เมื่อต้นปี 2563 เครือข่ายนักกฎหมายเพื่อเด็กเยาวชน ได้เปิดเผยผลสำรวจในกลุ่มเด็กอายุ 10-15 ปีจาก 15 โรงเรียน  พบว่า 91.79% เคยถูกบูลลี่ และ 68.93% มองว่า การบูลลี่ ถือเป็นความรุนแรงอย่างหนึ่ง

3 อันดับแรกการบูลลี่ที่พบได้มากในกลุ่มเด็กอายุ 10-15 ปี ได้แก่ การตบหัว (62.07%) การล้อพ่อแม่ (43.57%) การพูดจาเหยียดหยาม (41.78%) ยังไม่รวมถึงการนินทา ด่าทอ ชกต่อย ล้อปมด้อย พูดให้ร้าน เสียดสี กลั่นแกล้งในสื่อออนไลน์ ที่มีให้เห็นกันทั่วไป

การบูลลี่ส่งผลกระทบอย่างไรต่อผู้ถูกกระทำบ้าง ? 42.86% คิดตอบโต้เอาคืน 26.33% มีภาวะเครียด 18.2% ไม่มีสมาธิกับการเรียน 15.73% ไม่อยากไปโรงเรียน 15.6% มีพฤติกรรมเก็บตัว หลีกเลี่ยงการเข้าสังคม และ 13.4% มีภาวะซึมเศร้า

การกลั่นแกล้งรังแกผ่านสื่อออนไลน์

ในปี 2562 DTAC ได้ทำริเริ่มโครงการสร้างความตระหนักและให้ความรู้เกี่ยวกับ cyberbully โดยร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ศึกษาและเผยแพร่เรื่องการแกล้งรังแกของเด็กนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล”  พบว่า

ข้อมูลจากโครงการ DTAC Safe Internet – Stop Cyberbullying

เทคโนโลยีทำให้รูปแบบการรังแกมีความรุนแรงมากขึ้น จำนวนมากขึ้น ทำได้ง่ายและไว ผ่านการกลั่นกรองน้อยลง จึงมีแนวโน้มที่จะวนลูปและจบยาก และถึงแม้อาจจะดูเหมือนผู้ถูกกระทำไม่ได้รับความเจ็บปวดทางกายโดยตรง แต่ความเจ็บปวดทำจิตใจมีความรุนแรงและในหลาย ๆ เคสนำไปสู่การทำร้ายตนเองและการสูญเสียชีวิต จากการสำรวจในกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาในปี 2558 โดยกระทรวงสาธารณสุข พบว่าผู้ที่โดนกลั่นแกล้งมีแนวโน้มฆ่าตัวตายมากกว่าคือร้อยละ 20.6% เมื่อเทียบกับ 8.5% ในกลุ่มที่ไม่ถูกกลั่นแกล้ง

DTAC ยังเปิดเผยข้อมูลว่าตัวเลขจำนวนของผู้กลั่นแกล้งรังแก และผู้ถูกกระทำมีสัดส่วนเข้าใกล้กันมากขึ้นเรื่อย ๆ นั่นหมายถึงการตอบโต้และเอาคืนที่เกิดมากขึ้นนั่นเอง สถิติยังชี้ว่าผู้กลั่นแกล้งรังแกส่วนใหญ่มักเป็นเพศชาย และผู้ถูกกระทำส่วนใหญ่เป็นเด็กกลุ่ม  LGBT ที่มีความหลากหลายทางเพศ

“ทำไมเพศหลากหลายถึงกลายเป็นเป้าของการบูลลี่  เกิดจากการที่เด็ก ๆ ไม่เข้าใจความแตกต่างของเพื่อน เธอแตก

— รองแก้ว ปัญจมหาพร  ผู้เชี่ยวชาญการส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ

การกลั่นแกล้งรังแกเกิดขึ้นที่ไหนมากที่สุด ? 2 ใน 3 ของการกลั่นแกล้งรังแกเกิดขึ้นในห้องเรียน กล่าวคือการใช้ความรุนแรงส่วนใหญ่เกิดขึ้นในสถานที่ที่คุ้นเคยและมีโอกาส หากต้องการแก้ปัญหาการกลั่นแกล้งรังแกทางไซเบอร์ อาจควรเริ่มจากการสร้างความตระหนักและปรับเปลี่ยนทัศนคติเพื่อป้องกันการกลั่นแกล้งรังแกในสังคมกายภาพจริงก่อน

นอกจากนี้ DTAC ยังได้ร่วมกับ Wisesight และ Punch Up ทำการวิเคราะห์ข้อความต่างๆ จาก Facebook, Twitter, Instagram, Youtube, ฟอรั่ม และบล็อกข่าวในประเทศด้วยเครื่องมือ Social listening tool ในช่วง พ.ย. 61 – ต.ค. 62  พบว่ามีคนโพสต์ข้อความเกี่ยวกับเกี่ยวกับเรื่องบูลลี่อย่างน้อย 703,484 ข้อความ

เด็ก ๆ ถูกปลูกฝังว่า คนที่แตกต่างเป็นตัวตลก และเขาก็สนุกที่ได้แกล้งคนอื่นแล้วไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะสังคมเราเป็นสังคมที่ไม่ยอมรับความหลากหลาย และการไม่ต้องรับผิดชอบเป็นสิ่งที่ถึงปรารถนา

— ผศ.ดร. ธานี ชัยวัฒน์ เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ

“เวลาที่เราบูลลี่กันในสังคมไทย แล้วเราไม่ค่อยรู้สึก เพราะมันถูกกลืนเข้าไปในวัฒนธรรม วัฒนธรรมความสัมพันธ์ส่วนบุคคลในรูปแบบของการแกล้ง และวัฒนธรรมการให้อภัย ที่ขอโทษแล้วต้องจบกันไป” 

— ผศ.ดร. ธานี ชัยวัฒน์ เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ

จากการศึกษาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ในกลุ่มนักเรียนมัธยม ในกทม. ของภาควิชาจิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี ในปี 2562 พบว่า 1 ใน 4 เคยเป็นเหยื่อการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ 92% เคยพบเห็นการรังแกบนโลกออนไลน์ 35% เข้าไปช่วยเหลือเมื่อมีการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ 26% เพิกเฉยต่อการกลั่นแกล้ง และ 28% เข้าไปซ้ำเติม และการศึกษาพบว่าผู้ที่เสพติด social media มีแนวโน้มจะมีพฤติกรรม cyberbully มากกว่าคนทั่วไป 3 เท่า มีแนวโน้มที่จะกดไลค์และแชร์ข้อความที่เป็น cyberbully มากกว่า 2 เท่า และมีความเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อของการถูกบูลลีเองอีกด้วย

โจทย์ชวนคิด

เราจะทำอย่างไรให้คนเคารพความหลากหลายและไม่กลั่นแกล้งรังแกผู้ที่แตกต่าง

เราจะทำอย่างไรเพื่อป้องกันการกลั่นแกล้งรังแก หรือช่วยให้เหยื่อได้รับความช่วยเหลือเมื่อถูกบูลลี่

อ้างอิง