โจทย์นวัตกรรม – เพิ่มการบริโภคผักผลไม้ และอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ

เทคโนโลยีและแอปพลิเคชันสั่งซื้ออาหารมีบทบาทต่อพฤติกรรมการบริโภคของวัยรุ่น
เลือกซื้ออาหารโดยคำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการเป็นอันดับสุดท้าย

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลของ Global Agriculture Information Network ปี 2557 พบว่า คนไทยมีพฤติกรรมบริโภคน้ำตาลถึง 28.4 ช้อนชาต่อวัน สูงกว่าคำแนะนำขององค์อนามัยโลก (6 ช้อนชา สำหรับผู้ใหญ่  และ 4 ช้อนชา สำหรับเด็ก) ถึง 4.7 เท่า  ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2564  เผยว่า 26.3% ของคนไทยดื่มเครื่องดื่มชงรสหวานเป็นประจำ (มากกว่า 5 วัน/สัปดาห์) และ 18.9% ดื่มเครื่องดื่มพร้อมทานรสหวานเป็นประจำ  คนไทยบริโภคโซเดียม เฉลี่ย 3,635.6 มิลลิกรัมต่อวัน เกินมาตรฐานเกือบ 2 เท่า (มาตรฐาน 2,000 มก./คน/วัน)

เทคโนโลยีและแอปพลิเคชันสั่งซื้ออาหารมีบทบาทเพิ่มขึ้นต่อพฤติกรรมการบริโภคโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มวัยรุ่น การเลือกซื้อและรับประทานอาหารส่วนใหญ่ขึ้นกับ ความชอบ (27.7%) ความอยากรับประทาน (18.8%)  และรสชาติ (18.8%) มากกว่าการคำนึงถึงคุณค่าโภชนาการ (8.1%)

การบริโภคผักและผลไม้ของเยาวชนยังอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะช่วงอายุ 10-15 ปี ที่ไม่ถึง 1 ใน 4 บริโภคผักผลไม้สดเป็นประจำทุกวัน 

ปัจจุบันคนไทยป่วยเป็นโรคที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมติดเค็ม 22.05 ล้านคน แยกเป็น โรคความดันโลหิตสูง 13.2 ล้านคน คิดเป็น 23.5% โรคหลอดเลือดสมอง 0.5 ล้านคน หรือ 1.1 % โรคหัวใจขาดเลือด 0.75 ล้านคน หรือ 1.4% และโรคไต 7.6 ล้านคน หรือ 17.5 %

กลุ่มเด็กมีปริมาณการดื่มเครื่องดื่มประเภทชา/กาแฟเย็น (ประเภทแก้ว 650 มิลลิลิตร) เฉลี่ยต่อวันมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องดื่มประเภทอื่น ขณะที่กลุ่มวัยทำงานมีปริมาณการดื่มเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม (ประเภทขวดขนาดกลาง 550 มิลลิลิตร) เฉลี่ยต่อวันมากที่สุด และกลุ่มผู้สูงอายุมีปริมาณการดื่มชา/กาแฟเย็น (ประเภทแก้ว 650 มิลลิลิตร) เฉลี่ยต่อวันมากที่สุด 

การบริโภคอาหารมื้อหลักในประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไป มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารมื้อหลักครบ 3 มื้อเพิ่มขึ้น เป็น 89.4% แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าอาหารสำเร็จรูป แช่แข็ง หรืออาหารพร้อมปรุงแช่เย็นตามร้านสะดวกซื้อ กำลังเป็นที่นิยมของคนทั่วไปนั้น มีการรับประทาน 1-2 วันต่อสัปดาห์เกือบครึ่งหนึ่ง (46.6%) และพบว่า เด็กวัยประถมศึกษา (6-14 ปี) ทานอาหารที่ใช้วิธีทอดมากกว่ากลุ่มอายุอื่นถึง 36.2% และชอบทานอาหารที่มีรสหวานสูงสุด 32.5%

 

คนทำงานมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นมากกว่ากลุ่มผู้สูงอายุ จากพฤติกรรมการบริโภคที่เสพติดรสชาติ หวาน มัน และเค็ม "

โจทย์สำคัญ

1. การบริโภคผักผลไม่ให้เพียงพอ (400 กรัม/วัน)

2. การลดการบริโภคหวาน (น้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชา/วัน สำหรับผู้ใหญ่ และ 4 ช้อนชา/วัน สำหรับเด็ก)

3. การลดการบริโภคเค็ม (โซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม/วัน หรือเกลือ < วันละ 1 ช้อนชา)

4. การลดการบริโภคมัน (ไขมัน < วันละ 6 ช้อนชา)

* อาจเลือกโจทย์เดียวหรือโดยภาพรวมก็ได้

มาร่วมออกแบบและพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพกับ สสส.
ในโครงการ  Health Promotion Innovation - PM Award 2022